ในพุทธศตวรรษที่
19-20
พ่อค้าชาวบ้านอาหรับเข้ามาผูกขาดการค้าเครื่องเทศในเกาะชวาและบาหลีได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ในหมู่นำชุมชน
โดยมีศูนย์กลางของการเผยแผ่อยู่ที่ภาคเหนือของเกาะสุมาตราและมะละกา
ต่อมาศาสนาอิสลามได้รับนับถืออย่างกว้างขวางจากชาวพื้นเมืองในบริเวณแหลมมลายู
และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยด้วย
การยอมรับนับถือศาสนาอิสลามของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการแต่งกาย
รูปแบบของผ้าที่นำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม มีการนำรูปแบบของศิลปะอิสลามและศิลปะอินเดียสมัยโมกุล
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-24 มาประยุกต์เข้ากับรูปแบบดั้งเดิม
ดังปรากฏอยู่ในลายผ้าที่ใช้นุ่งห่ม
ผ้าที่ใช้สำหรับตกแต่งอาคารบ้านเรือนและผ้าที่ใช้ในพิธีกรรม
ศิลปะอิสลามและศิลปะโมเลกุลเข้ามาในหมู่ชนชั้นสูงก่อนแล้ว เช่นการนำลวดลายในศิลปะอิสลามและศิลปะโมเลกุลไปใช้กับผ้าที่รับแบบอย่างมาจากผ้าปะโตลา
หรือปาโตลา ซึ่งเป็นผ้าไหมมัดย้อมชนิดหนึ่งของอินเดีย
การทอผ้าและการใช้ผ้าเป็นเครื่องนุ่งห่มของชาวเอเชียอาคเนย์ในอดีตนั้นเชื่อมโยงกับอารยธรรมอินเดีย
จีน อาหรับ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนาของผู้คนด้วย
โดยเฉพาะการแผ่กระจายของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลามนั้น
มีผลกระทบต่อการสร้างรูปแบบของผ้าและการแต่งกายของประชาชนท้องถิ่นต่างๆ อย่างมาก เช่น
เมื่อชาวอินเดียเดินทางมาค้าขายกับอาณาจักรขอมหรือกัมพูชา
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-19 นั้น ชาวกัมพูชาอาจรับรูปแบบการทอผ้ามาจากผ้าปาโตลาของอินเดีย
แล้วประยุกต์ให้เข้ากับประเพณีนิยมและการใช้สอยของชนพื้นเมืองอาจเป็นไปได้ว่า
ผ้าปูมเขมร ที่ใช้กันในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมานั้น
ได้รับแบบแบบอย่างมาจากผ้าปาโตลาของอินเดียทั้งนี้เพราะรูปแบบการวางลายของผ้าปาโตลาและผ้าปูมนั้นคล้ายคลึงกันมากคือ
การวางลายตามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ท้องผ้าหรือส่วนกลางผ้าเป็นสีพื้น
มีลายขอบล้อมรอบ มีลายเชิงผ้าทั้งสองข้าง การวางลวดลายของผ้าปาโตลาในลักษณะนี้
เป็นแบบแผนที่พบในผ้ามัดหมี่บริเวณหมู่เกาะของประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
และมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบลายงูและลายนาคในผ้าปูม
อาจเป็นการสืบต่อทางความเชื่อเพราะนาคและงูเป็นสัตว์สำคัญตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ความเชื่อเช่นนี้ของชาวเขมรคงสืบมาจนทุกวันนี้
กระแสวัฒนธรรมอินเดียที่ปรากฏบนผ้าในเอเชียอาคเนย์เชื่อมโยงสู่ประประเทศไทยด้วย
เพราะในสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์
ไทยนำผ้าปูมจากเขมรและผ้าพิมพ์หรือผ้าลายอย่างจากแคว้นคุชราต ประเทศอินเดีย
เข้ามาในราชสำนักสยามผ่านผ้าพิมพ์ ผ้าลายอย่างไปสู่สามัญชน
แล้วพัฒนามาเป็นการผลิตผ้าลายไทยเป็นผ้าซิ่นหรือผ้าถุง
ซึ่งเป็นผ้านุ่งของผู้หญิงภาคใต้ชาวใต้สืบมาจนทุกวันนี้
กรุงศรีอยุธยาเป็นตลาดศูนย์กลางการค้าผ้ารายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีผ้านำเข้าจากจีน อินเดีย เปอร์เซีย ยุโรป ชวา และปัตตานี
อยุธยายังส่งออกผ้าที่ทอได้ในท้องถิ่นนี้ และผ้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศดังกล่าว
ไปขายที่มะละกา ปัตตานีและญี่ปุ่น การค้าผ้าของกรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมาจนกระทั้งเสียกรุงให้แก่พม่าในปี
พ.ศ. 2310
แม้ว่าผลกระทบจากสงครามจะทำให้การค้าผ้าหยุดชะงัก
แต่เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผ้าจากต่างประเทศ
รวมทั้งผ้ายกทองจากเมืองนครศรีธรรมราช และผ้าจวนตานี ผ้ายกตานีจากเมืองปัตตานี ก็กลับมาเป็นที่นิยมในราชสำนักอีก
โดยเฉพาะในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้หัวเมืองต่างๆ ในภาคใต้ได้ผลิตทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้ายขึ้น
ใช้เองในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นสินค้าจนมีชื่อเสียง เช่น ผ้าทอเมืองนครศรีธรรมราช
ผ้าเกาะยอ เมืองสงขลา ผ้าทอนาหมื่นศรี เมืองตรัง ผ้าทอพุมเรียง เมืองสุราษฎร์ธานี
ตลอดจนผ้าทอปัตตานีและหัวเมืองชายแดนภาคใต้