เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลา: 08:30 - 17:30 น. น.

ขั้นตอนการทอผ้า

ขั้นตอนการทอผ้า

ขั้นตอนที่1
หันด้าย

บทแรกของการทอผ้าเริ่มฝึกจากการเตรียมด้าย ที่ด้ายจากม้วนใหญ่จะต้องถูกปรับเปลี่ยนด้วยเครื่องมือที่เรียกว่ากาไน ประกอบด้วยระวิงกับไนหัน ใช้สำหรับหันด้าย คือ การกรอด้ายเข้าหลอดหลอดด้ายที่นี่เรียกเรี้ย เพราะเดิมทำมาจากไม้ไผ่เรี้ย ปัจจุบันนิยมใช้ท่อพลาสติกแทน เรี้ยมี 2 ชนิด ได้แก้ เรี้ยหันด้ายยืนมีขนาดใหญ่ ส่วนเรี้ยหันด้านพุ่งเป็นขนาดเล็ก ในชั้นนี้ต้องคำนวณเสียก่อนว่าจะทอผ้าอะไร ขนาดกว้างยาวเท่าไหร่ กี่ผืน ด้ายยืนสีอะไร เพื่อที่จะได้กำหนดจำนวนเรี้ยหันด้ายยืนแล้วความยาวของเส้นด้าย ส่วนด้ายพุ่งขึ้นอยู่กับความยาวของผ้า

ขั้นตอนที่2
ค้นหูก

ค้นหูก เส้นด้ายในเรี้ย จะทำอย่างไรให้เข้าไปเรียงอยู่ในหูก ขั้นตอนนี้ต้องค้นหูกหรือเดินด้ายอุปกรณ์มี 2 ส่วน คือ ที่สวมหลอดด้ายหรือรางเดินหูกซึ่งเรียง 2 แถว สำหรับเส้นด้ายบนล่างสลับกัน รางนี้จะวางบนพื้นหรือแขวนไว้กับชื่อใต้ถุนบ้านได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ จับเส้นด้ายเรียงสลับบนล่าง แล้วเริ่มเดินด้ายโดยนำไปคล้องกับหลักของที่ค้นหูก เมื่อได้ความยาวที่ต้องการและครบเส้นตามหน้ากว้างของผ้า ก็เก็บด้าย หากยาวมากต้องถักลูกโซ่ให้สั้นลง แล้วห่อผ้าหรือใส่ในภาชนะเพื่อมิให้เส้นด้ายกระจายตัว

ขั้นตอนที่3
สอดฟันฟืม

เป็นการทำด้ายจากม้วนมาสอดใส่ในฟันฟืม บางทีเรียกฟันหวี ซึ่งเป็นอุปกรณ์บังคับเส้นด้ายให้เรียงเป็นระเบียบ เครื่องมือที่ใช้มีเบ็ดหรือตะขอ 1 อัน ไม้เรียวขนาดใหญ่ 1 อัน ใช้เป็นไม้รับด้าย และไม้นัด 2 อัน ขั้นแรกต้องสอดไม้ 2 ด้านของเส้นด้ายที่ไขว้กันอยู่ ใช้เบ็ดดึงหัวด้ายทีละคู่ลอดฟันฟืนมาคล้องกับไม้รับด้ายจนครบทุกเส้น

ขั้นตอนที่4
ม้วนด้ายเข้ากี่

เมื่อสอดฟันฟืมเสร็จแล้ว ต้องจัดให้ด้ายให้เข้าที่ บางทีเรียกม้วนหูก เครื่องมือที่ใช้ไม้ม้าพันด้ายซึ่งใช้ไม้แผ่นเซาะร่องทั้ง 2 ข้าง กับไม้ไผ่ยาวๆ อีก 1 อัน ใช้ประกบไม้รับผูกติดกัน แล้วดึงไปจนสุดความยาวของด้ายให้ตึง ซึ่งต้องอาศัยพื้นที่ยาว ทาบไม้ลูกพันที่หัวด้ายกับร่อง 2 ข้าง ของแผ่นไม้พันด้าย แล้วค่อยๆ ม้วนด้ายปรับให้ตึงสม่ำเสมอเท่ากันตลอดจนเหลือเส้นด้ายหน้าฟันฟิมประมาณ 1 ศอก จึงนำไปเข้าที่ เริ่มด้วยสอดไม้พันด้ายเข้ากับเสากี่ และวางส่วนหัวอีกด้านหนึ่งของฟันฟืม ซึ่งอยู่ในไม้รับด้ายไว้ตรงหน้าที่นั่งคนทอ ซึ่งมีร่องสำหรับวางไม้หน้าผ้าหรือปั่นเป็นการวางชั่วคราว เมื่อทอผ้าไม้ยาวพอม้วนใส่ปั่นได้ก็ค่อยประกบกันและ ม้วนผ้าไปเรื่อยๆ ตามที่ทอได้

ขั้นตอนที่5
สู่ผ้าผืน

1. ก่อเขา
มี 2 ลักษณะคือ ก่อเขาลายขัด และก่อเขายกดอกหรือเก็บลาย ถ้าทอผ้าพื้นจะก่อเขาลายชัดเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าทอยกดอกต้องก่อเขายกดอกอีกรอบหนึ่ง
ก่อเขาลายขัด คือ การร้อยเส้นด้ายเพื่อแยกเป็นชุดบนกับชุดล่าง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ ไม้ปีกยิ่ว (ยิ่ว – เหยี่ยว) และด้ายเบอร์ 6 สำหรับผูกร้อยเส้นด้ายทีละเส้น โดยทำเป็นบ่วงคล้องไว้กับปีกยิ่ว ซึ่งจะค่อยๆ เลื่อนลงไปคล้องกับไม้เรียวจนหมดแถว ชุดล่าง 2 แถว ชุดบนอีก 2 แถวลำดับ การก่อเขาลายชัดต้องพลิกหูกขึ้นมาก่อเขาชุดล่างก่อน แล้วจึงพลิกกลับมาก่อเขาชุดบน เมื่อก่อเขาเสร็จแล้วผูกเขาชุดบนไว้กับลูกหยกที่ผูกโยงกับไม้คานบนส่วนเขาล่างผูกกับไม้เหยียบ 2 อันห้อยไว้
ก่อเขายกดอก ต้องผ่านกระบวนการเก็บลาย (คัดลาย) เพราะต้องคัดเส้นด้ายขึ้นลงหรือยกข่มทีละกี่เส้นตามลักษณะของลาย แล้วใช้ไม้นัดสอดไว้ทำไปจนครบทุกนัด จากนั้นก่อเขายกดอกด้วยวิธีการเดียวกับก่อเขาลายขัด เพียงแต่การผูกเส้นด้ายต้องผูกเป็นกลุ่มๆ ตามที่คัดลายไว้ ไม่ต้องผูกทีละเส้นจำนวนของผ้าลายดอกจะมากน้อยขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของลาย

2.ทอผ้า
วิธีการทอผ้ามี 2 ลักษณะ คือ ทอพื้นกับทอยกดอก เครื่องมือที่ใช้ เรียกว่า ตรนหรือกระสวยนั่นเอง ใช้นำเส้นด้ายพุ่งผ่านชุดเส้นด้ายที่แยกบนล่างไว้ ผ้าพื้นในที่นี้หมายรวมถึงผ้าตาและผ้าล่อง เพราะผ้าเหล่านี้เกิดลวดลายจากการสลับสีเส้นด้าย ไม่ว่าจะเป็นด้ายยีนหรือด้ายพุ่ง ไม่ต้องคัดลาย การทอผ้าพื้นใช้การพุ่งด้ายตามสีกำหนดเท่านั้น การทอผ้ายกดอกจะซับซ้อนมากขึ้น ทอลายนั้นต้องทอทีละนัดตามลำดับ เรียกว่า พุ่งด้ายตี ซึ่งแต่ละนัดต้องพุ่งด้ายตามจำนวนที่กำหนดประมาณ 2-4 ครั้ง ทุกครั้งต้องทอลายชัดสลับกับยกดอกเส้นต่อเส้น เรียกว่า พุ่งด้ายโส เมื่อทอครบทุกนัดก็ได้ 1 ดอก ให้วนกลับมานัดที่ 1 ใหม่ หรือทอถอยกลับในบ้างลาย จนได้ความยาวของพื้นผ้า
ลำดับการทอ
ขั้นที่ 1 สับตะกอให้ด้ายยืนแยกออกจากกัน โดยมีที่เหยียบอยู่ข้างล่าง(ใช้เท้าเหยียบ)เป็นการเปิดช่องว่างให้ด้ายพุ่งผ่านเข้าไปได้
ขั้นที่ 2 ใช้มือพุ่งกระสวยด้ายพุ่งให้สอดไปตามช่องสอดกระสวยซึ่งทำด้วยไม้
ขั้นที่ 3 ปล่อยเท้าที่เหยียบเครื่องบังคับตะกอเพื่อให้ด้ายพุ่งรวมเป็นหมู่เดียวกันตามเดิมกระทบฟันหวีโดยแรง ฟันหวีจะพาด้ายพุ่งให้เข้ามาชิดกันเป็นเส้นตรง
ขั้นที่ 4 เหยียบที่บังคับตะกออีกครั้ง ซึ่งตรงกันข้ามกับชั้นที่ 1 กระทบโดยแรงอีกครั้งหนึ่ง จึงพุ่งด้ายเส้นที่สอง จะทำให้ได้ผ้าเนื้อแน่นขึ้น กระแทกฟันหวีอย่างแรงหรือเบา ๆ มีผลต่อความยาวของผ้าที่ทอและทำให้ผ้าเนื้อแน่นหนาหรือบางได้