เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลา: 08:30 - 17:30 น. น.

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

ประวัติ
กลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี

ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2514

การทอผ้าของนาหมื่นศรีมีมาแต่โบราณ แล้วเริ่มน้อยลงตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ขาดวัตถุดิบ หลังสงครามมีผ้าจากโรงงานและเสื้อผ้าสำเร็จรูปขายมากขึ้น การทอผ้าจึงค่อยๆ ลดลงจนแทบจะไม่เหลือ พ.ศ. 2514 พ.ศ. นางนาง ช่วยรอด ผู้อาวุโสในหมู่บ้านควนสวรรค์ได้รื้อฟื้นการทอผ้าจนสามารถรวมตัวเป็นกลุ่ม และเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ต่อมานางกุศล นิลลออ ลูกของนางนางได้เข้าเรียนรู้และสืบทอด มีคนใหม่ๆ เข้ารวมกลุ่มเพื่อทอผ้าเป็นอาชีพเสริมส่วนรุ่นเก่าระดับฝีมือไม่กี่คนต่างทอผ้าอยู่ที่บ้านและขายเอง ต่อมา พ.ศ. 2516 ทางพัฒนาการอำเภอเข้ามาสนับสนุนให้ก่อตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนจากทางการ

Download Story in PDF

ทางราชการเข้ามาสนับสนุนเงินทุน ส่งไปอบรมศึกษาดูงานและส่งเจ้าหน้าที่มาฝึกสอน ช่วยเผยแพร่ผ้าทอ แต่ยังจำกัดในวงแคบ ส่วนใหญ่เป็นหน่วยราชการสั่งซื้อ มีคนทอผ้าทยอยเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้สมาชิกกลุ่มมีมากขึ้น ได้งบฯ สร้างอาคาร และเปิดอาคารได้ใน พ.ศ. 2526 มีสมาชิกราว 80 คน พ.ศ. 2520 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งผู้เชี่ยวชาญมาสอนย้อมสีและทอผ้าด้วยกี่กระตุกโดยมีลูกหลานของสมาชิกมาหัดทอ ผู้อาวุโสที่ทอผ้ากี่พื้นบ้านทอเพื่อใช้เองและนำไปจำหน่ายในงานต่างๆ ต่อมาสมาชิกส่วนหนึ่งหยุดทอผ้า เพราะแต่งงานมีครอบครัวและไปทำงานอื่น จนในที่สุดเหลือสมาชิกประจำเพียง 4-5 คน กับคนทอผ้าตามบ้านมาส่งขายอยู่บ้างมีผ้าวางขายที่กลุ่มแต่ไม่มากนัก พ.ศ. 2535 -2542 ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่)เข้ามาศึกษาและส่งเสริมการฟื้นฟูกลุ่ม ต่อมากลุ่มได้ไปร่วมงาน “ทอโหกให้โลกแล” ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่) เป็นผู้จัด ต่อมาได้เงินทุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผ้าพื้นบ้านภาคใต้ของศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ได้อบรมลายใหม่ๆ แกะลายเก่าลงกราฟ ปรับปรุงการบริหารจัดการให้สมาชิกกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมโดยจัดเวรขายหน้าร้าน ทำบัญชี เช็คสต๊อก

กลุ่มได้รับการส่งเสริมจากองค์กรต่างๆ เช่น สวช.ให้งบประมาณปรับปรุงศูนย์ฝึกอาชีพ ที่อาคารของโรงเรียนบ้านควนสวรรค์ อบต.สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนรับซื้อผ้าและจัดอบรม งานเหล่านี้ต่อเนื่องมาจากปลายปี 2542 พ.ศ. 2543 กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (SIF) สนับสนุนการก่อสร้างอาคาร กิจกรรมการอบรมและจัดซื้ออุปกรณ์รวม 1,00,000 บาท ใช้ก่อสร้าง 640,500 บาท โดยกลุ่มสมทบอีก 280,034 บาท ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2544 โดย ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ต่อมาในปี 2545 ได้รับงบฯจาก SIF ครั้งที่ 2 เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์เรียนรู้ ชื่อ มหาวิชชาลัย ชุมชนปักษ์ใต้นาหมื่นศรี 1,140,000 บาท ในที่ดิน 340 ตารางเมตร

ผ้าทอและกี่พื้นบ้านเริ่มน้อยลง สมาชิกรุ่นใหม่พอใจทอกี่กระตุกเพราะเร็วกว่าง่ายกว่า เมื่อลูกค้าถามประวัติชื่อลายผ้า คนหน้าร้านตอบไม่ได้ ในที่สุดก็สรุปว่าต้องฟื้นฟูความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิมกลับคืนมา ด้วนการทำงานวิจัยโครงการแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาลายผ้านาหมื่นศรีโดยการสนับสนุนของ สกว. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายท้องถิ่นพอดีกับ ใ น พ.ศ. 2545 ผ้าลายสี่ทิศได้รับรางวัลดีเด่น ทำให้เริ่มขายดีขึ้น ผลจากงานวิจัยที่เสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2546 ทำให้กลุ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทางกลุ่มได้พัฒนาเพิ่มเติมโดยสอนทอผ้าลายมรดกแก่คนในชุมชนด้วยกัน ปีเดียวกันนี้ผ้าลายกลีบบัวได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทผ้าฝ้ายทอมือระดับภาคใต้ ผ้าขายดีขึ้นเรื่อยๆ ในปีต่อๆมา ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ จัดงบประมาณให้เรื่อยมา เช่น สนง.วัฒนธรรม จ.ตรัง ม.สงขลานครินทร์ อบต.นาหมื่นศรี

กลุ่มได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โดยใช้ชื่อว่า “วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี” รหัสทะเบียน 5-92-08-05/1-0003 พ.ศ. 2548-2549 ได้รับงบฯ จาก อบต.นาหมื่นศรี เพื่ออบรมและการจัดซื้ออุปกรณ์ พ.ศ. 2550 ได้งบฯ โครงการอยู่ดีมีสุขจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดตรัง ทำกล่องบรรจุภัณฑ์ ถุงบรรจุภัณฑ์ ช่วง 2-3 ปีนี้ การขายเริ่มชะลอตัวลูกค้าต้องการสินค้าแปรรูปมากขึ้น กลุ่มจัดขึ้นฝึกอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อสนองความต้องการ นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมอื่นๆเพิ่มเติม เช่น ทอผ้าไหม เพิ่มลายใหม่ พ.ศ. 2553 ได้งบฯ จังหวัด ผ่าน สนง. พัฒนาชุมชน ปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์ 200,000 บาท ปรับปรุงห้องน้ำและโรงทอผ้า 300,000 บาท และได้เปิดพิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี พ.ศ. 2554 ได้รับงบฯ ผ่าน สนง.อุตสาหกรรม จ.ตรัง จัดอบรมเรื่องการตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้อุปกรณ์จักรเย็บผ้าและให้ทุนทัศนศึกษาดูงาน พ.ศ. 2555 อบต.นาหมื่นศรี ให้งบฯ จัดทำเอกสารเผยแพร่ พ.ศ. 2556-2557 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.ตรัง จัดให้เรียนทอและมัดย้อมผ้าคลุมไหล่ ปีหลังเรียนทอผ้าอเนกประสงค์ ในแต่ละปีมีสมาชิกเพิ่มเข้ามาตลอด

ความภาคภูมิใจ

รางวัลที่ได้รับ

รางวัลของเรา

หมื่นเส้นและหมื่นสี มาสอดเส้นสลับสี นานเนินเกินร้อยปี นาหมื่นศรีสืบตำนาน เก็บลายเอกลักษณ์ ประกาศศักดิศิลปพื้นบ้าน ทอรักถักทองาน สานคุณค่าผ้าเมืองตรัง

พ.ศ.2514

ขอขอบคุณวีดีโอจาก Youtube : trangstory

กลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี

บรรยากาศ

Awesome Image

พิพิธภัณฑ์ 1

Museum1

Awesome Image

พิพิธภัณฑ์ 2

Museum2

Awesome Image

ร้านค้า

Shop