เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลา: 08:30 - 17:30 น. น.

ผ้าสมัยประวัติศาสตร์ ตอนที่ 3 อาณาจักรศรีวิชัย

  • หน้าแรก
  • ผ้าสมัยประวัติศาสตร์ ตอนที่ 3 อาณาจักรศรีวิชัย
4 ต.ค.
Awesome Image

ผ้าสมัยประวัติศาสตร์ ตอนที่ 3 อาณาจักรศรีวิชัย

อาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 12-18)  อาณาจักรศรีวิชัยเริ่มมีการพัฒนามาตั้งแต่ประมาณกลางพุทธทศวรรษที่ 8 พ่อค้าจีนเรียกชุมชนขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตราว่าอาณาจักรโครยิง ต่อมาเอกสารจีนซึ่งเป็นจดหมายเหตุสมัยราชวงศ์เหลียงบันทึกว่าอาณาจักรคานโตลี ซึ่งอยู่บริเวณเมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตราได้ส่งคณะทูตไปยังราชสำนักจีนในปีพุทธศักราช 984 และปีพุทธศักราช 1106 เอกสารดังกล่าวยังไม่ได้บันทึกเกี่ยวกับผ้าและสินค้าของคานโตลีดังนี้ประเทศนี้ทอผ้าเป็นลวดลายและสีต่างๆมีสินค้าฝ้ายและหมากสินค้าเหล่านี้ของประเทศนี้มีคุณภาพดีกว่าประเภทใดข้อความดังกล่าวแสดงว่าชาวคานโตลีรู้จักทอผ้าฝ้ายยกดอกและเป็นลวดลายได้แล้วและรู้จักการย้อมด้ายสำหรับทอผ้าเป็นสีต่างๆ นอกจากนี้ยังมีฝ้ายและหมากเป็นสินค้าชั้นดีอีกด้วยนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าอาณาจักรคานโตลีนี้เจริญสืบเนื่องมาจากอาณาจักรโคยิง ต่อมาในพุทธศวรรษที่ 11 จีนเรียกอาณาจักรคานโตลีว่า ซาน-โฟ-ซิ ตรงกับคำว่าศรีวิชัย ในขณะนั้นคานโตลีได้รับอายธรรมอินเดียแล้วและเจริญรุ่งเรืองขึ้นจากการค้าขายจนกลายเป็นอาณาจักรที่ความมั่งคั่งและเป็นที่รู้จักในนามของอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งเป็นศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง  อาณาจักรศรีวิชัยมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจสูงสุดในพุทธทศวรรษที่ 13-14 ยูกิศรีวิชัยเรืองอำนาจนี้มีดินแดนตั้งแต่คอคอดกระลงไป คาบสมุทรมลายูรวมทั้งเกาะชวาและสุมาตราศรีวิชัยได้รวมนครรัฐต่างๆเข้ามาไว้ในอาณาจักรของตน เช่น ปาหัง ตรังกานู ลังกาสุกะ กะลันตัน ตามพรลิงค์ ครหิ-ไชยา ปาเล็มบัง ซุนดา และศรีลังกา เป็นต้น นอกจากนี้จะมีอำนาจทางการเมืองและเป็นศูนย์กลางทางการค้าแล้วศรีวิชัยยังเป็นศูนย์กลางทางวิชาการโดยเฉพาะศูนย์กลางพุทธและศาสนานิกายมหายาน กษัตริย์ศรีวิชัยทุกพระองค์ถนนการเผยแพร่พุทธศาสนานิกายมหายานอย่างกว้างขวางดังจะเห็นได้จากการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ในชวาภาคกลางคือ บุโรพุทโธระหว่างพุทธศักราช 1321-1383 และ ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 23 ซึ่งพบว่าที่วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวยกย่องกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในแห่งศรีวิชัยและอนุสรณ์แห่งการสถาปนาพุทธศาสนานิกายมหายานในภูมิภาคนี้ จากศิลาจารึกหลักนี้แสดงว่าศรีวิชัยมีอำนาจทางการเมืองเหนือคาบสมุทรมลายูตลอดจนเกาะสุมาตราและชวา จึงสามารถจัดการเผยแพร่พุทธศาสนานิกายมหายานในดินแดนดังกล่าวได้อย่างมั่นคงทำให้วัฒนธรรมแบบศรีวิชัยแพร่กระจายไปทั่วคราบสมุทรดังกล่าวรวมทั้งรูปแบบการแต่งกายและการใช้ผ้าด้วย

จดหมายเหตุของจีนอีกหลายฉบับได้กล่าวถึงการแต่งกายของชาวศรีวิชัยว่าแตกต่างกันตามฐานะทางสังคมเช่นพระเจ้าแผ่นดินแต่งองค์ด้วยผ้า สีกุหลาบราษฎรทั้งผู้หญิง ผู้ชายนุ่งห่มด้วยผ้าสีแดงและสีเรียบๆเมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมลูกหลานจะโกนศีรษะนุ่งผ้าขาวบันทึกของจีนเมื่อปีพุทธศักราช 1161 เขียนไว้ว่ากษัตริย์จากแถบสุมาตรา ตอนเหนือสวมใส่ผ้าไหม ซึ่งนำเข้ามาจากจีนและบันทึกเรื่องราวของชาวจีนชื่อซูไคเฟย  กล่าวถึงรัฐเคอดิรี่ ซึ่งอยู่ในเกาะชวาว่าคนสวมใส่เสื้อผ้าถึงหัวเข่า ผมทำเป็นจุก อีกทั้งยังมีการเลี้ยงหนอนไหมและต้นฝ้าย กษัตริย์ทรงสวมใส่ผ้าไหมใส่รองเท้าหนังและใส่เครื่องประดับทองคำนอกจากนี้จักรพรรดิจีนในสมัยราชวงศ์หมิงได้ส่งของขวัญมามอบแด่กษัตริย์ มะละกา ลังกาสุกะและศรีวิชัย เป็นเสื้อผ้าไหมและร่มสีเหลือง จากเอกสารจีนข้างต้นแสดงว่าผ้าไหมเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่กษัตริย์จะมอบเป็นของขวัญหรือบรรณาการให้แก่กันกษัตริย์และชนชั้นสูงของศรีวิชัยนิยมสวมใส่ผ้าไหมนำเข้าจากจีน ส่วนสามัญชนที่ปลูกฝ้ายและเลี้ยงไหมวัยทอผ้าใช้เอง

ผ้าที่นิยมใช้ในบริเวณแหลมมลายู เกาะสุมาตรา ชวา บาหลีและบรูไนในยุคศรีวิชัยนั้นมีทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม สำหรับผ้าฝ้ายนั้นมีทั้งที่นำเข้าจากอินเดีย เช่น ผ้าปะโตลาและผ้าฝ้ายที่ทอขึ้นใช้เองในท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผ้าพื้นสีต่างๆหรือผ้าที่มีลวดลายง่ายๆ ส่วนผ้าที่นำเข้าจากจีน ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าซาติน โบรเคท  ลาบูชิ แพร เป็นต้น ผ้าที่นำเข้าจากเปอร์เซีย ได้แก่ ผ้าบาลดู ซึ่งเป็นผ้าที่เย็บร้อยด้วยด้ายทอง นอกจากนี้ยังมีผ้าไหมที่ทอในท้องถิ่น แต่ได้รับอิทธิพลจากผ้าของอินเดีย ได้แก่ ผ้าไหมลิมา

เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงในพุทธทศวรรษที่ 18 นครรัฐต่างๆในแหลมมลายูที่อยู่ภายใต้การปกครองของศรีวิชัยต่างแยกตัวเป็นอิสระและแม้ว่าอำนาจทางการเมืองของศรีวิชัยจะล่มสลายแต่วัฒนธรรมแบบศรีวิชัยก็ยังคงอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนในคาบสมุทรมลายู รวมทั้งการทอผ้าและการใช้ผ้าด้วย ดังจะเห็นจากการทอผ้าฝ้ายผ้าไหมและผ้าทอยกดอกด้วยเส้นเงินเส้นทอง ตลอดจนการทำผ้ามัดย้อมทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหม ยังคงทอเรื่อยมาในแหลมมลายู รวมทั้งในภาคใต้ของประเทศไทยด้วย เช่น นครรัฐลังกาสุกะซึ่งต่อมาคือเมืองปัตตานีมีการทอผ้าจวนตานี ผ้าลีลา ผ้าไหมยกเส้นเงินเส้นทองที่มีชื่อเสียงส่วนตามพรลิงค์หรือเมืองนครศรีธรรมราชก็มีการทอผ้าไหมยกทองที่เลืองชื่อต่อมาในช่วงพุทธทศวรรษที่18-24 อาณาจักรไทยที่อยู่ตอนเหนือก็ได้แผ่อิทธิพลลงมาในคาบสมุทรมลายูเมืองปัตตานี นครศรีธรรมราช รวมทั้งไชยาและสงขลา ต่างถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรไทยซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ ....อ่านต่อตอนที่ 4

Tags: ผ้าทอพื้นบ้านภาคใต้