โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา การนุ่งห่มของหญิงไทยมุสลิมสมัยโบราณเมื่ออยู่กับบ้าน จะห่มผ้าเเถบคาดอก หรือกระโจมอก นิยมใช้ผ้าพื้นหรือผ้าการะดูวอ การะตีฆอ การะป๊ะลายตาหมากรุก โดยเหน็บชายผ้าไว้ที่กลางอก แล้วปล่อยชายผ้าทั้งสองข้างห้อยลงมาเป็นมุมแหลม ส่วนผ้านุ่งเป็นผ้าถุงยาวพื้นสี ด้ายดิบหรือผ้าการะดูวอ การะตีฆอ การะป๊ะลายตาหมากรุก ใช้ใส่ทำงานในบ้าน นิยมนุ่งกรอมเท้า โดยทบผ้านุ่งทั้งสองด้านมมาบรรจบกันที่ด้านหน้า แล้วใช้ผ้าคาดเอวทับนอกผ้าแถบอีกครั้ง ผ้าแถบและผ้านุ่งที่ใช้ใส่ทำงานบ้านนิยมใช้ผ้าที่ทอจากเส้นใยฝ้าย และเมื่อไปงานพิธีสำคัญหญิงจะแต่งกายแบบเดิมแต่ใช้ผ้าที่มีความสวยงามกว่า โดยการห่มผ้าแถบที่ทอจากเส้นใยไหมลายตาหมากรุก ส่วนเจ้าเมืองที่มีฐานะทางเศรษฐกิจนิยมใช้ผ้าลีมาที่ทอในท้องถิ่นลวดลายต่างๆ เช่น ผ้าจวนตานี หรือลีมาล่องจวนและผ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ผ้ายกตานี ซอแก๊ะ และปลางิง เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ผ้าแอเเจ๊ะ ซึ่งเป็นผ้ามัดหมี่ลายฟันปลาที่นำเข้าจากเมืองแอเเจ๊ะทางตอนเหนือของสุมาตรา หรืออาจใช้ผ้าตะลือโป๊ะซึ่งเป็นผ้าไหมลีโป้ จากจีนหรือผ้าปาเต๊ะ สำหรับที่ใช้นุ่งเป็นแถบยาว มักใช้ผ้าซอแก๊ะ และสตือฆอ ชนิดต่างๆ เช่นผ้าลีมาที่ผลิตในท้องถิ่นและนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนผ้าคลุมศีรษะมักใช้ผ้าป่านมีดอกสวยงาม หรือผ้าปลางิงซึ่งผ้าชนิดนี้นำเข้าวัตถุดิบจากจีนแล้วมามัดย้อมในปัตตานี การแต่งกายแบบนี้เลิกใช้มาประมาณ 80 ปีแล้ว
ส่วนชายเมื่ออยู่บ้านไม่นิยมสวมเสื้อ แต่นุ่งผ้าพื้นสีข้างในและสวมทับด้วยผ้าลายตาหมากรุกยาวเหนือเข่า โดยนุ่งผ้าบรรจบด้านหน้า ปล่อยชายระหว่างขา โดยขมวดปมไว้ที่เอว และใช้ผ้าโพกศีรษะอีกผืน บางคนอาจนุ่งลายตาหมากรุก คืนเดียวแล้วใช้ผ้าคาดเอวทับและเมื่อออกนอกบ้านเป็นกายด้วยชุดปูฌอปอตอง คือการสวมเสื้อแขนสามส่วนคอกลมผ่าหน้าขนาดสวมศีรษะได้ติดกระดุม 3 เม็ดสำหรับผ้านุ่มใช้ผ้าตากผ้าลายตาหมากรุกเป็นผ้าผืนยาวกว้างกว่าผ้าขาวม้า ธรรมดาคือจะยาวประมาณ 5-6 ศอก ขอบชายผ้ามีล่องจวน นุ่งทับเสื้อ ผ้าชนิดนี้ใช้สำหรับนุ่งปูฌอปอตอง หรือนุ่งเลื้อยชาย โดยให้ชายผ้าสองข้างห้อยอยู่ด้านหน้าผู้นุ่งเป็นมุมแหลม ลักษณะการนุ่งผ้าแบบนี้เรียกว่า ปูฌอปอตอง การนุ่งผ้าแบบนี้นิยมในหมู่ผู้ชายไทยมุสลิมช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และใช้ผ้าบือแฆซึ่งเป็นผ้าจากจีน มีลวดลายในตัว ผืนผ้ามีขนาดเล็กกว่ามานุ่งทับบนผ้าปูฌอปอตอง ผูกปมไว้ด้านหน้า ใช้ผ้าโพกศีรษะเรียกว่า สตาแงและยังเหน็บกริชหรือถือหอก ปัจจุบันการนุ่งผ้าแบบนี้เลิกไปแล้ว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หญิงไทยมุสลิมที่เป็นชนชั้นสูงและผู้มีฐานะ เริ่มสวมเสื้อแทนผ้าคาดอก ชุดที่ใช้กับหญิงทุกวัย ได้แก่ ชุดกุรง ซึ่งเป็นเสื้อคอกลม ผ่าหน้าพอสวมศีรษะ ได้ ติดกระดุมคอ 1 เม็ดหรือเข็มกลัด 1 ตัวแขนกระบอกยาวเกือบจรดข้อมือถือ หรือต่ำกว่าข้อศอก ใต้รักแร้ ระหว่างตัวเสื้อและแขนต่อด้วยผ้าสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตัวเสื้อหลวมยาวคลุมสะโพก เสื้อกุรง มักสวมเป็นชุดกับผ้าปาเต๊ะหรือจะใช้ผ้าชนิดเดียวกับเพื่อทำเป็นผ้าถุงธรรมดาหรือนุงจีบรวบไว้ข้างเดียวที่สะเอวข้างใดข้างหนึ่งตามแบบการนุ่งผ้าของชาว ยะโฮร์ มาเลเซีย เมื่อต้องไปงานสำคัญอาจนุ่งผ้าลีมา นอกจากนี้หญิงไทยมุสลิมยังมีชุดที่นิยมสวมในชีวิตประจำวันหรือสวมไปงานนักขัตฤกษ์อีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ ชุดกะบายอ ซึ่งเป็นเสื้อคอวี ผ่าหน้าตลอด ตัวเสื้อหลวมยาวคลุมสะโพก นิยมใช้เข็มกลัดที่มีสายโซ่คล้องต่อกัน 3 ตัวติดที่ หน้าอก ตัวเสื้อยาวแขนกระบอกชายเสื้ออาจแหลมเล็กน้อยหรือลงส่วนผ้านุ่งเป็นผ้าถุงธรรมดา ปัจจุบันเสื้อกบายอยังคงได้รับความนิยมในหมู่หญิงสูงอายุ
การแต่งกายของไทยมุสลิมมักปรับเปลี่ยนไปตามกระแสค่านิยมในการแต่งกายของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ชุดบานง จากเมืองบันดงในอินโดนีเซีย ลักษณะของเสื้อบานงจะคล้ายกับเสื้อกบายอ แต่เข้ารูปมากกว่าคอเสื้อเป็นตัววี ผ่าหน้าตลอด แขนยาวรัดรูปปกเสื้อเกยซ้อนการติดเข็มกลัด 3 ตัวชายเสื้อด้านหน้าแหลมเนื้อผ้าบาง เน้นการปักฉลุสวยงามตามชายเสื้อ ส่วนผ้านุ่งมักใช้ผ้าซอแก๊ะ ผ้าปาเต๊ะปันยัง (กาเฮงบือและ) หรือผ้าถุงธรรมดา ต่อมามีการประยุกต์เสื้อบานงเป็นอีกแบบหนึ่งคือ เสื้อคอวีลึก ปิดทับด้วยผ้าสามเหลี่ยม เสื้อแบบนี้เรียกว่า บานงแบบแต ซึ่งเป็นเสื้อที่รับอิทธิพลจากอินโดนีเซียเช่นกัน ผ้าที่นิยมตัดซื้อแบบนี้คือ ผ้าลูกไม้ กำมะหยี่ ต่วนและชีฟอง เสื้อบานง แม้แต่อาจใช้กับผ้าถุงธรรมดา ผ้าถุงสำเร็จ ผ้าปาเต๊ะปันยัง หรือกระโปรงยาวปลายบานก็ได้การแต่งกายชุดนี้มักนิยมสวมไปงานนักขัตฤกษ์และงานแต่งงาน ปัจจุบันหญิงไทยมุสลิมที่ทำงานอยู่กับบ้านมักสวมเสื้อแขนยาวหรือแขนสามส่วน ผ่าหน้า นุ่งผ้าปาเต๊ะและคลุมศีรษะ
สำหรับการแต่งกายของชาวไทยมุสลิมปัจจุบันจะสวมเสื้อตือโละบลางอ ซึ่งเป็นเสื้อคอกลม แขนยาว ทรงกระบอก ผ่าหน้าครึ่งตอดกระดุม หรืออาจเป็นคอตั้งแบบจีน ผ่าหน้าตลอด ใช้นุงกับผ้าปาลีกัตหรือลายตาหมากรุก ในอดีตนิยมใช้ผ้าปาลิกัตจากอินเดีย เนื้อผ้าละเอียดใส่แล้วเย็นสบาย ใช้ผ้าคลุมไหล่เรียกว่า ตือรแบ หรือชือแบ แล้วสวมหมวกกูปิเยาะ รูปทรงกลมปักดิ้นทอง ด้ายธรรมดา หรือถักโครเชต์ทั้งใบ การแต่งกายแบบนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
ชาวไทยมุสลิม ใช้ผ้าโบราณที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษทุ่งพอดีหรือให้เด็กหนุ่มแต่งตัวในพิธีกรรมงานโกนผมไฟ และงานเข้าสุหนัต (มาโซะยาวี) ด้วยความเชื่อว่า บรรพบุรุษจะช่วยคุ้มครองทารกและเด็กให้รอดพ้นจากสิ่งชั่วร้ายจึงจะได้สมบูรณ์แข็งแรงทั้งกายใจ นอกจากนี้ชาวไทยมุสลิมยังใช้ผ้าโบราณที่ตกทอดจากบรรพบุรุษเป็นส่วนประกอบในการทำพิธีเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆเพื่อความขลัง ศักดิ์สิทธิ์ และให้บรรพบุรุษคุ้มครอง เช่น การรักษาโรค การอยู่ยงคงกระพัน การคลอดบุตรง่าย เป็นต้น