เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลา: 08:30 - 17:30 น. น.

วัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้ ผ้าในวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีนภาคใต้

  • หน้าแรก
  • วัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้ ผ้าในวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีนภาคใต้
7 ต.ค.
Awesome Image

วัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้ ผ้าในวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีนภาคใต้

ชาวจีนได้เข้ามาค้าขายและมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวจีนอพยพเข้ามาเมืองไทยเป็นจำนวนมากเนื่องจากมีความอดอยากจากภัยธรรมชาติและภัยจากสงครามกลางเมือง ได้แก่ระบบปิดและระบบชาตินิยมประกอบกับช่วงนั้นประเทศไทยกำลังพัฒนาประเทศ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางจึงมีความต้องการแรงงานของกรรมกรจีน ในการก่อสร้างของทางการ เช่น การสร้างวัด ขุดลอกคลองกรรมกรในโรงจากสีข้าว โรงเลื่อย การทำไร่พริกไทย โดยเฉพาะในภาคใต้ของชาวจีนเข้ามามีส่วนสำคัญในการทำเหมืองแร่การทำสวนยางพาราและการสร้างทางรถไฟสายใต้ประกอบกับ ประเทศไทยไม่มีนโยบายกีดกั้นชาวจีนเปิดโอกาสให้ชาวจีนประกอบอาชีพต่างๆได้โดยสะดวก        จึงมีชาวจีนโพ้นทะเลอพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีนเข้ามาแสวงโชคในประเทศไทยเป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย การแต่งกายของชาวจีนในช่วงแรกจะนุ่งกางเกงแบบจีนและสวมเสื้อคอกลมสีขาว ผ่าหน้า แขนยาวไว้ ข้างในสวมทับด้วย เสื้อคอตั้ง ผ่าหน้า ติดกระดุม ผ้าแขนยาวปล่อยหรือพับปลายแขนถ้าเป็นผู้มีฐานะและต่อด้วยผ้าแพร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีดำแต่ถ้าเป็นกุลีหรือกรรมกรก็จะใส่กางเกงขาก๊วย เสื้อผ่าหน้า ผูกเชือก สำหรับชาวจีนที่เข้ามาประมูลเป็นเจ้าของภาษีนายอากรผูกขาดการเก็บภาษีให้กับรัฐบาลไทยหลายคนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนหลวงและพระยา ชาวจีนเหล่านี้ก็จะแต่งตัวเหมือนขุนนางไทย คือนุ่งผ้าม่วง สวมเสื้อนอกสีขาว คอตั้ง ติดกระดุม 5 เม็ด เมื่อลงไปติดต่อราชการ แต่ถ้าอยู่กับบ้านก็อาจแต่งกายแบบจีนชาวจีนที่ทำมาหากินในประเทศไทย แต่งงานกับหญิงพื้นเมืองทั้งไทยพุทธ ไทยมุสลิม แต่ส่วนมากภายหลังนั้นจะไปรับครอบครัวมาจากประเทศจีนและก็มีจำนวนไม่น้อย ที่ติดต่อกับแม่สื่อให้ส่งเจ้าสาวจากจีนมาแต่งงานด้วย ผู้หญิงจีนที่เข้ามาในช่วงแรกยังคงแต่งตัวแบบจีน คือนุ่งกางเกงแพรสีดำสวมเสื้อคอจีน ไปข้างกระดุม ทำด้วยผ้า สวมกำไลหยก ต่อมาหญิงไทยเชื้อสายจีนผู้ที่เป็นภรรยาของขุนหลวง ชาวจีนที่มีบรรดาศักดิ์ก็แสนไกลแบบภรรยาของบุตรหลานขุนนางไทย การแต่งกายของชายหญิงชาวจีนในภาคใต้จะปรับเปลี่ยนไปตามวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่เท่าไปทำมาหากินและอยู่อาศัยประสมประสานกับการแต่งกายตามสมัยนิยม แม้ในบางถิ่นผู้หญิงไทยเชื้อสายจีนยังคงสวมกางเกงแพรอยู่แต่ใส่เสื้อคอแบบต่างๆเพื่อมีแบบปกแขนสั้นหรือ ไม่มีแขนขาหน้า ติดกระดุมเอวลอย หรือทั้งรูปแบบนี้หญิงไทยนิยมใส่ในช่วงนั้นปัจจุบันผู้หญิงไทย เชื้อสายจีน วัยกลางคนและวัยชราส่วนมากได้เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อตามสมัยนิยมเมื่ออยู่กับบ้าน ส่วนชายไทยเชื้อสายจีนช่วงหลังนิยมแต่งกายแบบสากลมากขึ้น เนื่องจากพ่อค้าชาวจีนในภาคใต้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศและนิยมส่งลูกหลานไปเรียนที่ปีนังกันมากจึงได้รับวัฒนธรรมการแต่งกายเข้ามาด้วย โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนในแถบชายฝั่งทะเลตะวันตกจะมีพัฒนาการรูปแบบการแต่งกายจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น

ชาวจีนที่เข้ามาทางชายฝั่งตะวันตกของภาคใต้เป็นกลุ่ม ชาวจีนฮกเกี๊ยน จะตั้งถิ่นฐานบริเวณภูเก็ต ตรัง ระนอง และเข้ามาในฐานะผู้รับจ้างทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นกุลีเหมืองบ้าง ประกอบอาชีพประมง การแต่งกายของชาวจีนกุลีเหมืองจะใส่กางเกงขาก๊วย สวมเสื้อผ่าหน้า     ผูกเชือก สีเทา ชาวจีนบางคนไปรับครอบครัวมาจากประเทศจีน ผู้หญิงจีนที่เข้ามาในระยะแรกนี้ยังแต่งกายแบบดังกล่าวแล้ว และบางคนยังคงผูกเท้าให้เล็ก ซึ่งชาวภูเก็ตเรียกว่า “ตีนตุก” ส่วนชาวจีนที่แต่งงานกับหญิงพื้นถิ่น ภรรยาก็ยังคงนุ่งผ้าปาเต๊ะ

เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับปีนัง สิงคโปร์ มาเลเซีย มีชาวจีนจากปีนังอพยพเข้ามาในภูเก็ตมากขึ้น ลักษณะการแต่งกายของชาวจีนเพศชายฝั่งอันดามัน โดยเฉพาะที่ภูเก็ตจึงได้พัฒนามาเป็นลำดับ เช่น สวมเสื้อคลุมเเพรสีดำ ยาวทับกางเกงขายาว สวมหมวกสีดำ หรือสวมเสื้อคอ ตั้งติดกระดุม 5 เม็ดสวมหมวกกะโล่  ถือไม้เท้า ซึ่งเป็นลักษณะการแต่งกายของนายเหมืองทั่วไป ถ้าอยู่กับบ้านจะสวมกางเกงขายาวเสื้อยืด คอกลม ทรงผมเป็นแบบรองทรงไม่ไว้เปีย และแต่งกายแบบชุดสากล ผูกเนคไท ซึ่งเป็นชุดใหญ่ที่ใช้ออกงานทั่วไป

ต่อมาเมื่อมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนและมลายู วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายจีนและผู้คนแถบอันดามันมีลักษณะผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมของไทยมลายูและจีนกล่าวคือ ผู้หญิงเมื่ออยู่บ้านจะนุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อย่าหยา หรือที่ชาวจีนภูเก็ตเรียกว่า ปั่วตึ่งแต้ แปลว่า ครึ่งสั้นครึ่งยาว ซึ่งเป็นชุดแต่งกายสตรีพื้นเมือง ที่นิยมกันทางฝั่งทะเลอันดามัน แถบจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล ตัวเสื้อย่าหยาตัดด้วยผ้าบางๆ หรือผ้าลูกไม้ เป็นเสื้อแขนยาวปล่อยชาย ผ่าอกตลอด ติดกระดุม พร้อมกับมีสายโซ่เล็กๆ ร้อยติดกระดุมแต่ละเม็ดโยงเข้าด้วยกัน ปัจจุบันปลี่ยนเป็นติดกระดุมธรรมดาผู้ใหญ่ วัยกลางคนอาจ ตัดเย็บเป็นเสื้อลูกไม้แขนสั้นเอวลอยธรรมดาสวมใส่คู่กับผ้าปาเต๊ะ แต่ไม่มีผ้าคล้องไหล่ ส่วนผู้ชายมักสวมเสื้อกุยเฮง นุ่งกางเกงขายาวธรรมดา

ในโอกาสสำคัญ เช่น พิธีแต่งงานผู้หญิงจะสวมชุดบ้าบ๋า มีลักษณะเป็นเสื้อคลุมยาวเกือบเท่าชายผ้าโสร่ง ตัดด้วยผ้าป่านรูเบีย ฉลุลาย หรือผ้าต่วนเเพรนิ่มๆ คอตั้ง เรียกว่า ชุดครุย ชุดครุยประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1. เสื้อสวย เสื้อตัวในเป็นเสื้อคอตั้งแขน เสื้อตัวในเป็นเสื้อคอตั้งแขนยาวปลา เสื้อตัวในเป็นเสื้อคอตั้งแขนยาวปลายแขนสี่ เสื้อตัวในเป็นเสื้อคอตั้งแขนยาวปลายแขนจีบติด เสื้อตัวในเป็นเสื้อคอตั้งแขนยาวปลายแขนจีบติดกระดุมปลา เสื้อตัวในเป็นเสื้อคอตั้งแขนยาวปลายแขนจีบติดกระดุมปลายแขนตัว เสื้อตัวในเป็นเสื้อคอตั้งแขนยาวปลายแขนจีบติดกระดุมปลายแขนตัวเสื้อมี 5 เม็ดทำด้วยทองเรียกว่ากระดุมกิมตู้น

2. โสร่งปาเต๊ะ

3. เสื้อคลุมยาวทับไม่มีกระดุม ผู้หญิงจากครอบครัวชาวจีน นิยมชุดเสื้อครุยที่ตัดด้วยเเพรจีนเป็นชุดเจ้าสาว ใช้เข็มกลัดเพชรซีกที่เรียกว่า กอลัง กลัดเสื้อคลุม ตั้งแต่คอมาจนถึงหน้าอก เมื่อสวมชุดนี้ผู้สวมจะต้องเกล้าผมมวย เรียกว่า เกล้ามวยชักอีโบยสวมกำไลข้อเท้า ชุดนี้จะแต่งเฉพาะงานสำคัญๆเท่านั้น เช่น พิธีแต่งงาน ถ้าเป็นชุดธรรมดา ก็ถอดเสื้อคลุมออกเหลือเสื้อตัวใน คือเสื้อคอตั้งแขนจีบ ใช้เป็นชุดออกนอกบ้านได้ ส่วนผู้ชายจะแต่งแบบชุดสากล ผูกเนคไทตามแบบนิยม


Tags: ศิลปวัฒนธรรมผ้าทอ