เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลา: 08:30 - 17:30 น. น.

ผ้าสมัยประวัติศาสตร์ ตอนที่ 2 นครรัฐตามพรลิงค์

  • หน้าแรก
  • ผ้าสมัยประวัติศาสตร์ ตอนที่ 2 นครรัฐตามพรลิงค์
4 ต.ค.
Awesome Image

ผ้าสมัยประวัติศาสตร์ ตอนที่ 2 นครรัฐตามพรลิงค์

          นครรัฐตามพรลิงค์ ( พุทธศตวรรษที่ 7-13)  ธรรมราชกุระหรือลิกอร์ หรือนครศรีธรรมราชเป็นเมืองสำคัญอีกแห่งหนึ่งทางฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายูที่อาจเจริญรุ่งเรืองมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 7  เอกสารจีนเรียก ลิกอร์ ว่า ตัน มา ลิง หรือ ตามพรลิงค์ ศูนย์กลางของนครรัฐนี้อยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบันตามพรลิงค์ ได้รับอารยธรรมอินเดียทั้งศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาเช่นกัน มีเอกสารของจีนอีกฉบับหนึ่งกล่าวถึง ผู้คนในอาณาจักรตามพรลิงค์เมื่อประมาณ พุทธศักราช 1400 -1700 ว่าแต่งกายด้วยผ้าฝ้าย ผ้าเเพรเลี่ยน ผ้าทอยกดอก ผ้ามีลวดลายด้วยเส้นเงิน เส้นทอง ความว่าอากาศในรัฐนี้อุ่นสบาย  ผู้ชายและผู้หญิงล้วนเกล้าผมไว้เป็นปม เครื่องแต่งกายดูเสื้อผ้าขาวและผ้านุ่ง ผ้าฝ้ายดำ ในพิธีแต่งงานพวกเขาใช้แพรเลี่ยน ผ้าทอยกดอก ผ้ามีลวดลายด้วยเส้นเงิน เส้นทองการใช้ผ้าในโอกาสต่างๆ เช่น ในชีวิตประจำวันสวนเสื้อผ้าฝ้ายสีขาว นุ่งผ้าฝ้ายสีดำ แต่ในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีแต่งงาน จะแต่งตัวสวยงาม เช่น โดยใช้ผ้าแพรเลี่ยน ผ้าทอยกดอกและผ้าที่มีลวดลายเส้นเงิน เส้นทอง  แสดงว่าชาวนครศรีธรรมราชสมัยนั้นรู้จักทอผ้าฝ้ายและย้อมสีดำไว้แล้วอาจรู้จักเก็บตะกอลายเพื่อทอเป็นผ้ายกดอกได้ด้วย ส่วนผ้าเเพรเลี่ยนและผ้าที่มีลวดลายเส้นเงินเส้นทอง ซื้อมาจากประเทศจีนและอินเดียหรืออาหรับเพราะตามพรลิงค์ก็เป็นเมืองท่าสำคัญ  ทางฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายู ที่มีการค้าขายกับประเทศดังกล่าวเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงในพุทธทศวรรษที่ 18 ทั้งนครศรีธรรมราชและปัตตานีต่างแยกตัวเป็นอิสระและถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรไทยหลายยุคสมัยจนกระทั่ง 24 นครรัฐทั้งสองต่างมีฐานะเป็นจังหวัดขึ้นอยู่กับกระทรวงของราชอาณาจักรไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

อาณาจักรทราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16)  พัฒนาขึ้นมาจากการขยายตัวของชุมชนเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทํานาในที่ลุ่มในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาครอบคลุมเมืองโบราณในภาคกลาง เช่น นครปฐม อู่ทอง คูบัว และจันเสน  เมืองอู่ทองเป็นเมืองท่าชายฝั่งที่มีการค้าขายกับดินแดนต่างๆทั้งภายในและภายนอกจึงได้รับอารยธรรมอินเดียเข้ามาประยุกต์กับวัฒนธรรมท้องถิ่นจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ศิลปวัฒนธรรมทราวดีอันเนื่องในพุทธศาสนาได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น เมืองหริภุญชัยในภาคเหนือ เมืองศรีมโหสถ ฟ้าแดดสูงยางและจันทรวิชัย ในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งไชยา นครศรีธรรมราชและปัตตานีในภาคใต้

ไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับผ้าและเครื่องแต่งกายของชาวอาณาจักรทราวดีซึ่งประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ ได้แก่ มอญ ละว้า ไต (สยาม) จีน อินเดียและเปอร์เซีย แต่จากการพบเเวดินเผาซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการปั่นเส้นใยเป็นเส้นด้ายสำหรับทอผ้าเป็นจำนวนมาก จึงสันนิษฐานว่าชาวเมืองทราวดีรู้จักทอผ้าใช้เองแล้วแต่ก็อาจซื้อผ้าจากประเทศอินเดียและจีน พร้อมกับนำรูปแบบการนุ่งห่มของชาวจีนอินเดียมาเป็นต้นแบบการนุ่งห่มของตนด้วยเพราะได้พบแบบอย่างการแต่งกายแบบอินเดียปรากฏอยู่ในงานประติมากรรมของทราวดี เช่น รูปคน เทวดา นักดนตรี ที่ประดับรอบฐานเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม รวมทั้งแหล่งโบราณคดีคูบัว ราชบุรี  ที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ และแผ่นเงินคุณภาพพระพุทธรูปเทวดาหรือรูปกษัตริย์ ซึ่งขุดพบที่เมืองกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม แสดงให้เห็นว่าคนในสมัยทราวดีนุ่งผ้ายาวกรวมเท้า ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงมีสไบหรือผ้าแถบพาดไหล่ จากประติมากรรมรูปเทวดาซึ่งสันนิษฐานว่าปั้นเลียนแบบจากการแต่งกายของชนชั้นสูงจากนุ่งผ้าเป็นริ้วพันกาย กษัตริย์สวมเครื่องศิริพรยอดแหลมไม่สูงนัก มีกลองพระศอ ผ้านุ่งมีลายทอเป็นทางๆ ลายดอกจันกระจังตาอ้อย รวบผ้าไว้ข้างหน้า เสื้อผ้าทอเป็นลายดอกไม้และเป็นทางยาวๆ นี้เป็นลายที่นิยมทอกันแพร่หลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสืบมาจนถึงปัจจุบัน สวนเจ้าหญิงและนางกำนัลเกล้าผมสูง 2 ลอน  และเครื่องดื่มราพรประดับผมมวย ใส่ตุ้มหู กรองพระศอหย่อนยาน ลงมาถึงฐานนมมีทองกรรัดแขน

นอกจากนี้เทวรูปของศาสนาพราหมณ์ในศิลปะขอม และศิลปะสมัยลพบุรีของไทย (พุทธศตวรรษที่ 12-18) พระพุทธรูปและศิลปะคนอื่นก็แสดงให้เห็นการตกแต่งการแต่งกายและการใช้ผ้าว่าส่วนมากนุ่มผ้ายาวกรวมเท้า มีจีบทบไปมา แบบนุ่งผ้าหน้านางซึ่งอาจเป็นต้นแบบการนุ่งซิ่นนุ่งโสร่งของชาวเอเชียอาคเนย์ก็ได้ โดยเฉพาะภาพลักษณ์นุ่งผ้าโธตี ของชาวอินเดียซึ่งอาจเป็นต้นแบบของการนุ่งผ้าโจงกระเบนการนุ่งผ้าเตี่ยว ของชาวไทยในอดีตผ้าคล้องคอเทวรูปสลัก และผ้าสะพายเฉียงหรืออังสะของ พระพุทธรูปอาจเป็นต้นแบบของการใช้ผ้าห้อยไหล่ ผ้าสไบ ผ้าเบี่ยง ที่ยังปรากฏอยู่ในแบบแผนการแต่งกายของชาวอาคเนย์ในปัจจุบันเพราะมีการใช้ผ้าห้อยไหล ในหมู่สตรีบางท้องถิ่นของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียมีการใช้ผ้าเบี่ยงของผู้หญิงในประเทศลาวและการใช้ผ้าสไบของสตรีไทยในอดีตรวมทั้งการใช้ผ้าพาดเฉียงในภาคใต้ด้วยการใช้ผ้าต่างๆเหล่านี้ได้แบบอย่างมาจากการแต่งกายของชาวอินเดียแปลนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับภูมิอากาศและประเพณีนิยมของแต่ละกลุ่มชน...อ่านต่อตอนที่ 3

Tags: ผ้าทอพื้นบ้านภาคใต้