เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลา: 08:30 - 17:30 น. น.

วัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้ ผ้าในวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ ตอนที่ 2

  • หน้าแรก
  • วัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้ ผ้าในวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ ตอนที่ 2
7 ต.ค.
Awesome Image

วัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้ ผ้าในวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ ตอนที่ 2

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8 ( พุทธศักราช 2477 -2489)  เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีนโยบายสร้างชาติซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของคนไทยเรียกว่าการสร้างชาติทางวัฒนธรรมในปี (พุทธศักราช 2482) รัฐบาลประกาศชักชวนให้ประชาชนเลือกรับประทานมาทำให้ประชาชนหันมานิยมฟันขาวแทนฟันดำและกำหนดให้รัฐนิยม (ในพุทธศักราช 2484)  ให้บุรุษและสตรีต้องสวมหมวกเมื่อออกนอกบ้าน บุรุษในเมืองหลวงหรือในตัวจังหวัดสวมเสื้อชนิดมีแขนเป็นเสื้อคอปิดและคอเปิด ถ้าอยู่ในชนบทหรือนอกเขตเทศบาลสวมเสื้อทรงกระบอกแบบไทยแขนยาว ขอตั้งกลัดกระดุม  5 เม็ด มีกระเป๋าสวมกางเกงสากล หรือกางเกงแบบฝรั่ง สตรีทั้งนอกเขตในเขตต้องสวมเสื้อจะเป็นแบบใดก็ได้ แต่ต้องให้คลุมไหล่ใช้ผ้านุ่งให้นุ่งผ้าถุงหรือสวมกระโปรงมากกว่านุ่งโจงกระเบนทั้งบุรุษและสตรีต้องสวมรองเท้า ต่อมาเมื่อจอมพลปอพิบูลสงครามหมดอำนาจทางการเมืองการสวมหมวกก็ค่อยค่อยหายไปแต่การสวมกางเกงสากลสำหรับบุรุษจับการนุ่งผ้าถุงและสวมกระโปรงสำหรับสตรีได้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบเรื่อยมาจนปัจจุบัน สำหรับการแต่งกายของเจ้าเมือง ข้าราชการ พ่อค้าคหบดี ในภาคใต้ตลอดจนภรรยาและบุตรสตรีก็จะแต่งกายแบบบุรุษและสตรี ในเมืองหลวงโดยชายจะสวมเครื่องแบบทั้งเสื้อและกางเกงแบบตะวันตกไปทำงาน ส่วนสตรีก็เลิกการนุ่งผ้าโจงกระเบนเมื่อออกนอกบ้าน เปลี่ยนมาสวมเสื้อและนุ่งผ้าถุงหรือกระโปรงแบบตะวันตกเช่นกัน

ส่วนชาวไทยพุทธที่เป็นสามัญชนทั้งหญิงและชายเดิมจะนุ่งผ้าโจงกระเบนที่เป็นผ้าฝ้ายทอในท้องถิ่นตัวเอง ได้แก่ผ้าทอสีพื้นผ้าตารางและผ้าเก้ากี่ (ผ้าตาสมุก)  แต่ส่วนมากจะนิยมผ้าย้อมสีดำชายทั้งเก่งและหนุ่มเมื่ออยู่บ้านจะนุ่งผ้า “เลื้อยชาย” ซึ่งเป็นซักอาบหรือผ้าขาวม้าที่ทอเองเป็นผืนยาว วิธีนุ่งจากผ้าสองข้างขมวดพกรัดเอวแบบ “เกี่ยวคอไก่” ส่วนชายผ้านุ่มจะปล่อยลอยชายปลายเคลียว เวลาทำงานหรือเดินทางไกลจึงจะดึงหางชายผ้าขึ้นมาเหน็บข้างสะเอวเสียก็ได้ ไม่นิยมใส่เสื้อเชิ้ต เสื้อหายากแต่ใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่าใดบ่าหนึ่งเพียงข้างเดียว ปล่อยชายห้อยต่อมาชายหนุ่มหรือชายกลางคนจะนุ่งผ้าถุงลายตาราง ชาวบ้านเรียกว่าผ้าถุงตะเกียงใหญ่บางถิ่นเรียกผ้าลูกหมูหรือผ้าลูกหมูไส้อ่อนอยู่บ้านหรือทำงานหรือเดินทางซึ่งเหมือนกับผ้าโสร่งนั่นเองพวกหนุ่มๆถ้าไปทำบุญหรือเที่ยวงานวัดก็จะนุ่งผ้าโจงกระเบนไม่สวมเสื้อแต่ใช้ผ้าซักอาบ  (ผ้าขาวม้า) หรือผ้าห่มพาดบ่า หรือใช้ผ้าขาวม้าที่ทอด้วยไหมหรือใยไหมห่มสะพายเฉียงถือว่าโก้

หญิงสามัญชาวไทยพุทธนุ่งผ้าโจงกระเบนไม่สวมเสื้อแต่จะใช้ผ้าทอมืออีกถึง 1000 รอบอกหญิงสาวที่อายุ 13-20 ปีรูปภาพถุงใช้ผ้าซีก ( ผ้าแถบ) “ฉ้อคอ” คือใช้ผ้าซีกพาดคล้องด้านหลัง ชายสองข้างพาดไขว้ปิดถันที่หน้าอกทั้งสองข้าง แบบตะแบง มาน และผูกชายผ้าซีกทั้งสองข้างเป็นเงื่อนที่ต้นคอ หากเป็นวันทำบุญวัด ก็ใช้วิธีห่มแบบรัดอกใช้เข็มกลัดกลัดติดกันไม่ให้หลุด ชายหางผ้าซีกยาวพาดบ่าอย่างสไบเฉียง (ผ้าพาดเฉียง) มีผ้าอีกชนิดหนึ่ง เรียก “ผ้าคลุมดอง” คือผ้าสไบคลุมหลังทั้งผืน เลือกใช้ผ้าบางๆ ดอกสวยๆ ชายผ้าทั้งสองห้อยอยู่ข้างหน้าอกหรือข้างแขนทั้งคู่ นิยมใช้ผ้าห่มไปทำบุญ  2 ผืน  2 สี  สีคือ ใช้ห่มแบบรัดอกผืนหนึ่ง ห่มสะพายเฉียงทับซ้อนอีกผืนหนึ่ง ส่วนหญิงที่มีอายุเลย 20 ปีหรือแต่งงานแล้วและมีอายุมากขึ้นก็ใช้ “ผ้ารัดอก” การเป็นพื้นทั่วไปคือใช้ผ้าซีก (ผ้าแถบ) พันรอบอกปิดถันทั้งสองข้าง นิยมใช้ผ้าเเพรดอกของจีนกันมากถือว่าเป็นผ้าชั้นดีหายาก ส่วนหญิงชราจะนุ่งผ้าโจงกระเบนซึ่งเป็นผ้าพื้น ไม่สวมเสื้อเมื่ออยู่กับบ้าน แต่ถ้าออกจากบ้านก็จะใช้ผ้าห่มรัดอกเช่นกัน ในช่วงต่อมาหญิงสาวนิยมใส่เสื้อผ้าแบบต่างๆ เช่น คอกลม คอแหลม คอสี่เหลี่ยม คอห้าเหลี่ยม คอปาด  หรือเสื้อแบบมีปก ตัวเสื้อเข้ารูป จีบระบายที่เอว หรือตัวเสื้อปล่อยคลุมสะโพก เเขนสั้น หรือ ไม่มีแขน นุ่งผ้าถุงยกดอกที่ทอได้ในท้องถิ่น เช่น ผ้าทอเกาะยอ มีลายราชวัตร ลายลูกแก้ว ลายดอกพิกุล ลายตาสมุก ลายหางกระรอก เป็นต้น และต่อมาเมื่อมีผ้าปาเต๊ะเข้ามาขายอย่างเเพร่หลาย หญิงไทยพุทธก็นิยมสวมผ้าดังกล่าวมากขึ้นด้วย ส่วนหญิงชราจะนุ่งผ้าโจงกระเบน ที่เป็นผ้าพื้น ผ้าตาสมุก ผ้าทอยกดอก และผ้าหางกระรอกที่ทอได้ในท้องถิ่น แต่ส่วนมากจะใช้ผ้าพิมพลายไทยที่ทำจากโรงงานในกรุงเทพฯ สวมเสื้อผ้าป่านสีขาว หรือผ้าลูกไม้คอกลมผ่าหน้า ติดกระดุม เเขนสามส่วน เมื่อออกนอกบ้านก็ยังมีให้เห็นบ้างจนทุกวันนี้....อ่านต่อตอนที่ 3


Tags: ศิลปวัฒนธรรมผ้าทอ