เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลา: 08:30 - 17:30 น. น.

ภูมิปัญญาในการคัดสรรวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในการทอ 2

  • หน้าแรก
  • ภูมิปัญญาในการคัดสรรวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในการทอ 2
4 ต.ค.
Awesome Image

ภูมิปัญญาในการคัดสรรวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในการทอ 2

ไหม เป็นเส้นใยที่หุ้มรังดักแด้ของผีเสื้อชนิดหนึ่ง ที่ตัวอ้วนป้อม ปีกมีลายเส้นสีน้ำตาลอ่อน พาดทางขวางหลายเส้น ตัวหนอนมีสีขาวหรือสีครีมมีรยางค์เล็กๆคล้ายเขาที่ปลายหา กินใบหม่อนเป็นอาหารได้อย่างเดียว เมื่อโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้ เมื่อสาวใยออกมาเรียก เส้นไหม หากนำมาทอผ้าเรียก ผ้าไหม มนุษย์นำเส้นใยไหมมาทอผ้าเมื่อหลายพันปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าจีนเป็นชาติแรกที่รู้จักนำเส้นไหมมาทอผ้า เมื่อประมาณ 1,500-2,500 ปีก่อนพุทธกาล ต่อมาจึงแพร่ไปยังประเทศอินเดีย ประเทศต่างๆ ในเอเชียและยุโรป ไหมที่นำมาทอผ้าในระยะแรกอาจเป็นเส้นใยที่ได้จากไหมป่าภายหลังจึงนำไหมมาเลี้ยงเพื่อให้ได้เส้นไหมปริมาณมากพอที่จะทอผ้าได้สะดวก ต่อมามีการพัฒนาพันธุ์ใหม่ เพื่อให้ได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดีขึ้น การเลี้ยงไหมในประเทศไทยมีมาแต่โบราณ โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ตั้งกรมช่างไหม ในปี พ.ศ. 2452 และจ้างผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาสอนการเลี้ยงไหมและสาวไหมแบบญี่ปุ่น มาเผยแพร่ความรู้นี้ให้กับราษฎรในจังหวัดร้อยเอ็ด นครราชสีมาและบุรีรัมย์ แม้ว่าโรงเรียนช่างไหมจะเลิกไปในปี พ.ศ. 2456 แต่ก็มีการพัฒนาพัฒนาพันธุ์ไหมใหม่เรื่อยมา ปัจจุบันการเลี้ยงไหมเป็นอาชีพเสริมของชาวไร่ชาวนาโดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเลี้ยงไหมกันอย่างแพร่หลาย ไหมพันธุ์พื้นเมืองที่เลี้ยงกันทั่วไป ได้แก่ พันธุ์สีขาว  พันธุ์สีเหลือง พันธุ์เกษตรมาผสมกัน

การผลิตเส้นไหม นำไข่ตัวไหมมาวางบนผ้าที่วางไว้บนกระดังไม้ไผ่ ไข่ไหมจะฟักเป็นตัวในเวลา 10 วัน จึงให้ตัวไหมกินใบหม่อนหั่นเป็นฝอย วันละ 2 เวลา เมื่อตัวไหมโตขึ้นจะเลี้ยงด้วยใบหม่อนวันละ 3 เวลา ประมาณ 1 เดือน ตัวไหมจะมีสีเหลืองจึงนำไปวางไว้ในจ่อ (ตะแกรงไม่ไผ่ขนาดใหญ่ มีแผงไม้ไผ่เล็กๆ ขดเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้นๆ) ในระยะนี้ตัวไหมจะเริ่มคายเส้นไหมออกมาพันรอบตัวเป็นรังไหมภายใน 7 วัน จึงรีบเก็บรังไหมขึ้น นำไปต้มจนรังไหมลอยขึ้นมา จึงดึงใยไหมจากรังไหม 3-4 รัง รวมกัน เป็นไหม 1 เส้น เรียกว่า สาวไหม โดยผ่านระแทะสาวไหม เอาเส้นไหมใส่ลงในภาชนะจนหมดใยไหม เส้นไหมที่ได้จะเป็นเส้นไหมใหญ่ เส้นไหมน้อย และเส้นไหมคอ นำเส้นไหมเหล่านี้ไปทำเป็นเข็ดหรือไจนำมาใส่กง แล้วเอาอักมาสาวไหมออกมาจากกง ถ้าพบไหมเส้นโตมีรอยไหม้ หรือเป็นปุ่มต้องคัดออก หากไหมยังไม่เสมอกันอีก ต้องนำไปใส่ในเพื่อเข็นอีกครั้ง ให้เส้นไหมเรียบดีขึ้น

การต้มฟอกและย้อมไหมดิบ ไหมดิบจะมีเส้นกระด้าง เพราะมียางเหนียวเกาะติดอยู่ จะต้องต้มฟอกเอายางนั้นเพื่อทำให้เส้นไหมอ่อนตัว โดยนำไหมดิบไปแช่น้ำสะอาด แล้วนำไปต้มกับน้ำด่าง ซึ่งทำจากขี้เถ้ากาบมะพร้าวแห้ง ก้านและกาบกล้วยแห้ง เปลือกนุ่น งวงตาล ต้นผักขมและเหง้ากล้วย ละลายน้ำ แต่ในปัจจุบันใช้สาวเคมี แช่ไว้ 1 คืน เทน้ำออก 3 ส่วน แล้วเอาน้ำใหม่เทลงไปให้ท่วมเส้นไหม ต้มเคี่ยวไปจนกว่าเส้นไหมจะเป็นสีขาว แล้วนำมาล้างให้สะอาด นำไปผึ่งไว้ในร่มจนเส้นไหมแห้งกระบวนการนี้เรียก การฟอกไหม ซึ่งจะช่วยทำให้เส้นไหมนุ่ม ทำให้กาวที่ติดอยู่กับเส้นไหมหลุดออกไป และสีเดิมของเส้นไหมจะจางลง นำไปย้อมสีได้ง่าย ส่วนการย้อมสีไหม ปัจจุบันใช้สี 2 ชนิด คือ สีธรรมชาติ ที่ได้จากต้นไม้ ใบไม้ แก่นไม้ และพืชบางชนิด ซึ่งมีขั้นตอนและกรรมวิธีต่างๆกัน กับสีวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสีสำเร็จรูป นำไปละลายน้ำร้อนพอขัน กรองด้วยผ้าขาว เทน้ำสีผสมไว้ลงในอ่างน้ำร้อน เทเหล้าโรงผสมลงไปพอสมควร คนให้สีเข้ากันดี แล้วเอาเส้นไหมลงไปย้อม แล้วบิดเส้นไหมขึ้นผึ่งไว้ในร่มจนเส้นไหมแห้ง

Tags: ผ้าทอพื้นบ้านภาคใต้