ผ้าสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐานที่เป็นบันทึกของนักเดินเรือชาวจีน เช่น คังไถ จูยิ่ง และฟานฉี ซึ่งเดินทางเข้ามาดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-8 บันทึกว่าดินแดนในบริเวณแหลมสุวรรณภูมินี้มีการรวมตัวกันเป็นชุมชนระดับนครรัฐและอาณาจักรขึ้นทั่วไป อาณาจักรและนครรัฐในแหลมสุวรรณภูมิเหล่านี้ต่างมีการพัฒนาการรูปแบบการแต่งกายและการใช้ผ้าไม่ต่างกันมากนัก เนื่องจากได้รับอารยธรรมจีนและอินเดียเหมือนกันและต่างกันก็อาจจะถ่ายโอนความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าซึ่งกันและกันด้วย ได้เห็นได้จากการพบแวหินและแวดินเผาทั่วไปในประเทศไทย และอาจจะสืบทอดวัฒนธรรมการใช้ผ้าและการทอผ้ามาสู่ภาคใต้ของประเทศไทยด้วย เช่น อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรทราวดี และอาณาจักรศรีวิชัย เป็นต้น
อาณาจักรฟูนัน (พุทธศตวรรษที่ 6-11) มีอาณาเขตครอบคลุมไปถึงภาคใต้ของประเทศเวียดนาม
ลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแหลมมลายู ศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนันอาจอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
บริเวณเมืองอู่ทอง ก่อนที่จะย้ายราชธานีไปแถบลุ่มแม่น้ำโขง
จดหมายเหตุจีนกล่าวถึงผ้า และการแต่งกายของชาวฟูนันว่า “พวกชนชั้นสูงของผู้นันมีเครื่องนุ่งห่มที่ทอด้วยไหมเงินและไหมทอง
พวกผู้หญิงมี
ผ้าคลุมชนิดหนึ่งคล้ายหมวกแขกผู้คนส่วนใหญ่มีเครื่องนุ่งห่ม
ลูกผู้ดีมีตระกูลจะสวมโสร่งและนิยมเครื่องประดับที่เป็นสร้อยคอทองคำ
แหวนหรือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเงิน” ผ้าที่ชาวฟูนันใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มอาจเป็นผ้าที่ทอขึ้นใช้เองในอาณาจักรของตนหรืออาจจะซื้อมาจากจีนหรืออินเดียโดยเฉพาะจีนมีการทอผ้าสืบต่อกันมาช้านาน
ผ้าไหมและผ้าแพรของจีนก็เป็นสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป
เนื่องจากการค้าทางทะเลของจีนช่วงเเรกๆ ไม่มีนโยบายติดต่อกับลูกค้าโดยตรง
แต่จะค้าขายโดยผ่านอาณาจักรฟูนัน
ซึ่งทำความมั่งคั่งและรุ่งเรืองให้กับผู้นั้นมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างจีนกับอาณาจักรต่างๆ
ในเอเชียอาคเนย์ อินเดียและตะวันออกกลาง
และถ้าก็เป็นสินค้าสำคัญซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดดังกล่าว
อาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจลงในพุทธศตวรรษที่ 11 ตอนบนของคาบสมุทรมลายูมีอาณาจักรพัน-พัน
และธรรมราชปุระ ตามพรลิงค์หรือลิกอร์ หรือนครศรีธรรมราชปกครองอยู่
ส่วนตอนล่างใต้นครศรีธรรมราชปกครองอยู่ส่วนตอนล่างใต้นครศรีธรรมราชลงไปอยู่เขตปกครองของอาณาลังกาสุกะ
เมื่ออาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจ
อาณาจักรลังกาสุกะก็มีความสำคัญสูงสุดบนคาบสมุทรมลายู
โดยสามารถควบคุมการค้าทั้งหมดบนคาบสมุทร และขยายอิทธิพลไปทางตะวันตก
เหนือคอคอดกระขึ้นไปจนถึงชายฝั่งอ่าวเบงกอล
จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์เหลียง (พุทธศตวรรษที่
11) บันทึกเกี่ยวกับผ้าและการแต่งกายของผู้คนในอาณาจักรนี้ว่า
“ประชาชนทั้งชายและหญิงสยายผม
และสวมเสื้อไม่มีแขนทำด้วยผ้ากันมันอันทอด้วยฝ้ายกิเป
พระราชาและขุนนางในราชอาณาจักรมีผ้าสีแดงรุ่งอรุณ คลุมข้างบน หลังอีกชิ้นหนึ่งผ้าคลุมนี้กลุ่มอยู่บนบ่าทั้งสองข้าง
ทั้งพระราชาและขุนนางต่างก็คาดเข็มถักทอด้วยเชือกทอง” เอกสารบางฉบับบันทึกต่าง
ไปว่า “ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั้งชายและหญิงในการเปลือยกายท่อนบนปล่อยผมเป็นกระเชิงมาข้างหลัง
ผ้าที่สวมใส่ทำด้วยฝ้ายกันมัน” และสังข์ พัฒธโนทัย
กล่าวถึงรัฐลังกาสุกะในหนังสือเรื่องราชทูตไทยไปจีนว่า
ลังกาสุกะเป็นรัฐที่มีชื่อเสียง ปรากฏอยู่ในพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์เหลียง
คนในเมืองลังกาสุกะไม่สวมเสื้อ ปล่อยผมยุ่ง สวมโสร่งผ้าฝ้าย
กษัตริย์และขุนนางผู้ใหญ่มีผ้าคลุมไหล่ สวมต่างหูทองคำ ส่วนการแต่งกายของหญิงจะแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายมีเครื่องเพชรระดับบนเรือน
ซึ่งตัดเป็นวงติดกับร่างกาย ลักษณะการแต่งกายแบบนี้เป็นเครื่องยศของชาวอินเดีย
จากเอกสารข้างต้นแสดงว่าชาวลังกาสุกะ
รู้จักนำฝ้ายกิเปมาทองผ้าขึ้นใช้เองและเรียกว่าผ้ากันมัน
ชนชั้นสูงอาจจะสวมเสื้อไม่มีแขนใช้ทำด้วยผ้ากันมัน และใช้เป็นผ้านุ่งด้วย
ผ้าดังกล่าวอาจเป็นภาพพื้นยังไม่มีลวดลายส่วนผ้าคลุมไหล่สีแดงของพระราชาและขุนนางอาจจะซื้อมาจากจีนเรียกว่า
ผ้าหยัน-เซีย และชนชั้นสูงจะใช้เครื่องประดับทองคำ เช่นเข็มขัดและต่างหู
ส่วนสามัญชนทั้งชายหญิงจะเปลืองกายท่อนบนไม่สวมเสื้อ
ปล่อยผมเป็นเชิงมาข้างหลังแต่ก็นุ่งผ้าโสร่งฝ้ายกันมัน
ประการสำคัญคือชาวลังกาสุกะทุกชนชั้นใช้ผ้าฝ้ายซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติที่ชาวอินเดียเป็นผู้ริเริ่มใช้เป็นชาติแรกตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
จากนั้นเผยแพร่ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานที่ชาวอินเดียเดินทางเข้ามาในภาคใต้
และได้ถ่ายทอดเทคนิคการทอผ้าและการแต่งกายโดยใช้ผ้าฝ้ายเป็นเสื้อคลุมห่มให้แก่ชาวพื้นเมืองและชาวพื้นเมืองก็มีความรู้ในการทอผ้าแบบดั้งเดิมของตนอยู่แล้วจึงสามารถรับเทคนิคการทอผ้าชั้นสูงจากชาวอินเดียได้และนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองในที่สุด
นครรัฐลังกาสุกะตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยในราวพุทธทศวรรษที่ 14-15 และศรีวิชัยยังได้แผ่อำนาจเข้าไปในแหลมมลายู ครอบคลุมดินแดนตั้งแต่ ไชยา นครศรีธรรมราช ปัตตานี กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และเคดาห์ ในบันทึกของชาวจีนชื่อหวางตาหยวน ซึ่งเดินทางเข้ามาในภูมิภาคนี้ เมื่อพ. ศ. 1892 ได้กล่าวถึงผู้คนในตรังกานูว่า “เราเรียกรัฐนี้ว่า ทิน-เซีย-ลู ผมของชายและหญิงซึ่งอยู่ในบริเวณนี้ทำเป็นจุกและพวกใส่เสื้อสั้นๆ สิ่งประดิษฐ์จากผ้าฝ้ายสีเขียวใช้พันรอบๆตัวพวกเขา” จากบันทึกนี้แสดงว่าชาวเมืองต่างๆที่อยู่ใต้อำนาจของศรีวิชัยรวมทั้งชาวภาคใต้สมัยนั้นด้วย จะส่วมเสื้อผ้าแบบชาวอินเดีย คือการนุ่งผ้าเพียงผืนเดียวพันรอบๆตัวซึ่งเรียกว่าการนุ่งผ้าแบบโธตี นอกจากนี้หญิงไทยและกัมพูชาในยุคนั้นก็ใช้ผ้าห่มเหมือนกับชาวมัชปาหิต ที่มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบชาวอินเดียแสดงว่าอารยธรรมอินเดียได้แพร่กระจายตลอดคาบสมุทรมลายู รวมทั้งปาเลมบังและชวาด้วย
เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจหัวเมืองต่างๆในแหลมมลายูต่างแยกตัวเป็นอิสระ ขณะเดียวกันอนาจักรไทยที่อยู่ทางเหนือก็พยายามขยายอำนาจลงมาในคาบสมุทรและผนวกปัตตานีเข้ากับอาณาจักรไทยด้วยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-23 ปัตตานีภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยากลับมามีชื่อเสียงอีกในฐานะเป็นเมืองท่า ที่สำคัญมีชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายกับปัตตานีจำนวนมากทั้งประเทศทางตะวันออกและตะวันตกและมีสินค้าจำนวนมากที่ถูกส่งออกและนำเข้าที่เมืองปัตตานี เช่นของป่า เครื่องเทศ เครื่องลายคราม ฝ้าย ไหม โดยเฉพาะผ้าซึ่งมีทั้งผ้าจากจีน อินเดีย เปอร์เซียและผ้าที่ทอในท้องถิ่น เช่น ผ้าจวนตานี และผ้าไหมลีลา เป็นต้น...อ่านต่อตอนที่ 2