เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลา: 08:30 - 17:30 น. น.

ผ้าสมัยก่อนประวัติศาสตร์

4 ต.ค.
Awesome Image

ผ้าสมัยก่อนประวัติศาสตร์

การพบหลักฐานทางโบราณคดีในภาคใต้ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หินแสดงให้เห็นว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณนี้ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือหินขัด เช่น ขวานหินขัดเป็นเครื่องมือขูดถลกหนังและขนสัตว์เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือหญิงดังกล่าวพบทั่วไปในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา นครศรีธรรมราช และยะลา ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้หินที่เป็นหลักฐานแสดงว่ามีการทำผ้าจากพื้นเป็นเครื่องนุ่งห่ม คือหินทุบผ้าเปลือกไม้ หรือหินทุบเปลือกไม้ เป็นเครื่องมือหินที่มีลักษณะเป็นแท่งคล้ายค้อนหิน มีขนาดเท่ากำปั้นประกอบด้วยส่วนหัวที่บากเป็นร่องหรือริ้วรอยไว้สำหรับทุบเปลือกไม้และส่วนด้ามสำหรับจับถือหรือต่อด้วยไม้

เครื่องมือชนิดนี้ใช้สำหรับทุบเปลือกไม้ เช่น ป่าน ปอ ฝ้าย เพื่อนำเส้นใยมาทำผ้า ในภาคใต้พบเครื่องมือหินดังๆหลายแห่งซึ่งมีอายุไม่น้อยกว่า 3,500 ถึง 4,500 ปี ได้แก่ ที่ถ้ำเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่แหลมป้อม ตำบลบ้านม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ยังพบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีและที่จังหวัดกาญจนบุรี หินทุบผ้าเปลือกไม้ เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำรู้จักทำผ้าขึ้นใช้แล้ว และเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีอยู่ร่วมสมัยกับการใช้เครื่องมือหินกะเทาะ เช่น ขวานหินขัด และหม้อสามขา เป็นต้น

มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะ (2,700 ถึง 1,500 ปีมาแล้ว) สามารถทอผ้าใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มแล้ว และเสื้อผ้าที่ใช้ทอด้วยป่านกัญชา นอกจากนี้ยังพบ เเว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ปั่นเส้นใยให้เป็นเกลียวเพื่อทำเส้นด้ายสำหรับทอผ้า  แวทำด้วยหิน กะลามะพร้าวหรือดินเผา ขนาดเท่าหัวแม่มือ มีไม้เล็กๆเสียบอยู่ตรงกลาง เเวดินเผาที่พบทั่วไปทำเป็นก้อนกลม ตรงจุดศูนย์กลางเจาะรูสำหรับสอดแกนไม้ เล็ก พันปุยฝ้าย ปลายไม้จะมีเงี่ยงและร่อง สำหรับเกี่ยวและพันธุ์ฝ้าย เเวเป็นเรื่องถ่วงน้ำหนักทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหมุนได้นานขนาดของแวต่างกันตามขนาดของเส้นด้ายและวัสดุ เช่น เเวขนาดเล็กน้ำหนักน้อยใช้ปั่นขนสัตว์ เเวขนาดใหญ่ใช้ปั่นเส้นใยจากพืช  เช่น ใยป่านลิลิน ป่านกัญชา เเวช่วยให้เส้นใยบิดเป็นเกลียวเสมอกันพบทั่วไปในเอเชีย โดยเฉพาะภาคใต้ของประเทศไทยพบเเวที่ทำด้วยหินกระดูกสัตว์และดินเผา ที่ชุมชนโบราณท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ทำด้วยหินดินดานสีแดง เป็นรูปคล้ายฐานกรวยเจาะรูผ่านตลาด แวหินยังพบในแหล่งสำรวจบ้านมะขาม ตำบลระโหนด อำเภอระโหนด จังหวัดสงขลา ในแหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบแวที่ทำด้วยกระดูกสัตว์ และดินเผา เส้นใยที่ปั่นด้วยแวอาจเป็นเส้นใยสั้นๆ คุณภาพไม่ดีนัก แต่ก็ใช้เรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 23 จึงเลิกใช้เมื่อมนุษย์ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายที่เรียกว่า ไน แทน แว ที่ใช้มาแต่โบราณ

ภาพสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นผ้าที่ใช้เส้นด้ายหลอดขัดกันเหมือนกันสานลายขัด เพราะติดผ้าที่พบมักเป็นเนื้อหยาบมีเส้นใยขัดกัน เส้นด้ายมีขนาดไม่เท่ากันและตีเกลียวกันอย่างหลวมๆตามเข็มนาฬิกา ส่วนวัสดุที่นำมาทอผ้าและวิธีการทอผ้าได้พัฒนามาเป็นลำดับ มนุษย์นำเปลือกไม้และใบไม้ที่มีเส้นใย เช่น  ต้นป่าน ปอ ใบสับปะรดมาแปรรูปเป็นเส้นใย โดยแช่น้ำให้ยุ้ยแล้วใช้หินหรือไม้ทุบให้วุ้น หลุด แล้วนำเส้นใยมาทำเป็นเส้นลวดถักและทอเป็นผืนผ้าได้ ต่อมานำปุยของฝ้ายที่หุ้มเมล็ดนำมาปั่นให้ฟูและบิดเป็นเส้น ปุยฝ้ายมักมีสีขาวและสีน้ำตาลอ่อน เมื่อเก็บสมอฝ้ายหรือดอกฝ้ายมาตากให้แห้งสนิทแล้ว นำไปอิ้วหรือแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้าย จากนั้นก็นำไปดีดด้วยกงดีดฝ้ายให้ปุยฝ้ายแตกฟู เสร็จแล้วล้อฝ้ายให้เป็นแท่งกลมยาว เพื่อนำไปเขียนเป็นเส้นด้าย ด้ายฝ้ายที่นำไปทอผ้าเป็นสีธรรมชาติหรือสีย้อมให้เป็นสีต่างๆผ้าที่ทอจากฝ้ายเรียกว่า ผ้าฝ้าย นอกจากนี้ชาวจีนได้นำใยที่หุ้มดักแด้ของตัวไหมมาทอผ้าเรียกว่า ผ้าไหม

Tags: ผ้าทอพื้นบ้านภาคใต้