อาณาจักรอยุธยา (พุทธศักราช 1893 ถึง 2310) สมเด็จพระรามาธิบดีที่
1 ( พระเจ้าอู่ทอง)
ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อปีพุทธศักราช 1893 ที่ตำบลหนองโสนมีแม่น้ำ
3 สายล้อมรอบ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำป่าสัก
และแม่น้ำลพบุรี
ชัยภูมิที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเหมาะที่จะเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการเมืองและการค้า
เนื่องจากอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก
ทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างหัวเมืองที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินกับการค้าทางทะเลซึ่งมีพวกค้าต่างประเทศทางตะวันออกและตะวันตกเข้ามาค้าขายที่อยุธยาจำนวนมาก
กรุงศรีอยุธยาเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและสินค้าที่มาจากต่างประเทศโดยเฉพาะสินค้าผ้ามีผ้าต่างๆหลายชนิดทั้งผ้านำเข้าจากต่างประเทศ
และผ้า พื้นบ้านที่ชาวบ้านทอมาขายในตลาด โทเม ปีเรส ได้บันทึกจดหมายเหตุ
ได้บันทึกจดหมายเหตุเกี่ยวกับ การค้าของอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พุทธศักราช 2034 ไว้ว่า
สินค้าที่ใหญ่ที่สุดส่งไปขายที่มะละกา ได้แก่ ครั่ง กำยาน ไม้หอม ตะกั่ว ดีบุก
เงิน ทองงาช้าง ชาวสยามได้นำผ้าเนื้อหยาบราคาถูกที่ผลิตในสยามไปขายให้คนจน
ส่วนสินค้าที่นำเข้ามาจากมะละกาไม้จันทน์ขาว พริกไทย ปรอท ชาด ฝิ่น กานพลู
ดอกจันทร์เทศ ผ้ามัสลิน ชนิดกว้างและชนิดแคบ ผ้าจากกลิงค์ชนิด
ที่ชาวสยามนิยมใช้ได้แก่ ผ้าไหมยกเงินหรือยกทองจากเเคมเบย์
จากบันทึกดังกล่าวแสดงว่าชาวกรุงศรีอยุธยาสามารถทอผ้าใช้เองได้แล้วและเหลือพอจะส่งไปขายที่มะละกาซึ่งผ้านี้อาจเป็นผ้าฝ้ายพื้นแบบที่สามัญชนทั่วไปจะใช้กัน
ส่วนผ้าที่นำเข้าได้แก่ผ้ามัสลินผ้าไหมยกดอกจากอินเดียเป็นของที่ใช้ในราชสำนัก
สินค้าผ้าที่พ่อค้าชาวอินเดียนำเข้ามาขายในกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ได้แก่ ผ้าแต่งแต้มสีและแพรชนิดต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทนี้คือ ผ้าพื้นไม่มีดอกหรือลาย กับผ้าดอก ผ้าลายเป็นสีต่างๆ
ซึ่งเกิดจากการใช้เส้นด้ายย้อมสีก่อนทอเป็นผ้า
อีกทั้งยังมีผ้าพิมพ์ด้วยบล็อกไม้และผ้าที่ใช้พู่กันแต่งแต้มสี เป็นลวดลายต่างๆ
ผ้าเหล่านี้ถูกส่งเข้ามาขายเป็นผืนยาวๆบ้างก็ตัดเป็นผืนเพื่อใช้เป็นสไบ ผ้าคาดเอว ผ้าห่ม ผ้านุ่ง ผ้าโพกหัว เป็นต้น
ผ้าพื้นยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ผ้าเนื้อหยาบ และผ้าเนื้อละเอียด
ส่วนสินค้าที่ชาวจีนนำเข้ามาขายในอยุธยาได้แก่
เครื่องถ้วยชามลายครามสีน้ำเงินและขาว โคมแก้ว ผ้าไหมบางสี ผ้าต่วน ทองเงิน ทองแดง
เหล็ก ปรอท ลูกปัด
กิจการค้าในกรุงศรีอยุธยาเริ่มขยายตัวมากขึ้นเมื่อรัฐบาลทำการค้ากับชาวตะวันตก
โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ลาลูแบร์ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยนี้บันทึกว่า
สินค้าสำคัญที่พระมหาราชเจ้าอยู่หัว ทรงขายให้แก่ราษฏรของพระองค์คือ ผ้าทอด้วยด้าย
ส่งไปยังคลังสินค้าตามหัวเมืองชาวสยามทอผ้าด้วยฝ้ายบ้างเล็กน้อยแต่หยาบและหนา
ทำลายเป็นสีสันง่ายๆ เข้าไว้ ไม่น่าดูและทอกันแต่ในเมืองหลวง
ในขณะเดียวกันผ้าที่ทอจากอินเดีย
เปอร์เซียและอาหรับถูกนำมาจำหน่ายในอยุธยาจำนวนมากขึ้น โดยพ่อค้าชาวฮอลันดา อังกฤษ
ฝรั่งเศสและเดนมาร์ก พ่อค้าเหล่านี้มีเงินทุนมากได้ใช้วิธีออกทุนให้ช่างทอก่อน
จึงสามารถผลิตได้จำนวนมาก ทำให้ราคาต้นทุนลดลง
สามารถส่งผ้าฝ้ายและผ้าไหมเข้ามาขายในอยุธยาในราคาถูกกว่าเดิม
ผ้าชนิดที่ขายดีในกรุงศรีอยุธยา
เป็นชนิดต่างๆที่มาจากอินเดีย เช่น ผ้าจากเมืองสุรัต ผ้าจากฝั่งโคโลมันเดล
ผ้าพิมพ์ดอก เป็นต้น เมื่อเรือของพวกแขกมัวร์จากอินเดียเดินทางมาครั้งใด
ก็บรรทุกผ้าระบายสีแบบต่างๆ มาคราวละมากๆ ทำให้ผ้าในกรุงศรีอยุธยาคึกคักขึ้น
เพราะผ้าจากอินเดีย โดยเฉพาะผ้าพิมพ์ลาย มีสีสันสวยงามเป็นที่นิยมกันมาก
ดังปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังและสมุดภาพสมัยอยุธยาว่าผ้าพิมพ์จากอินเดียนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของชนทุกชั้นในสังคม
นอกจากใช้ผ้าเป็นเครื่องแต่งกายแล้ว ในสมัยอยุธยายังใช้ผ้าประดับตกแต่งบ้านเรือน
ใช้ประกอบสิ่งของเครื่องใช้ ใช้ตกแต่งพาหนะในขบวนพิธี และถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา
นอกจากนี้ยังมีสินค้าอีกหลายชนิด
ที่มีการนำเข้าและส่งออกจากปัตตานี เช่น ผ้าไหม ผ้ากำมะหยี่ ผ้ายกดอก ผ้าฝ้าย
กระจกเงา ทองแดง ฝาง หนังสัตว์ เป็นต้น สินค้าเหล่านี้ได้ส่งไปขายยังอยุธยา
ญี่ปุ่น โปรตุเกส ตะนาวศรี ชวา เป็นต้น โดยเฉพาะสินค้าผ้ามีตลาดใหญ่อยู่ที่อยุธยา
ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นคนกลางในการติดต่อซื้อขายพระองค์ทรงมอบหมายให้ออกญาพระคลังและออกญาพลสิทธิ์ทำหน้าที่เลือกซื้อสินค้าก่อนคนอื่นๆ
เมื่อเรือสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาเทียบท่า
ในเอกสารฮอลันดากล่าวว่าผ้าที่จะขายได้นั้นต้องนำเอามาให้พระองค์เลือกฝืนที่พอพระหทัยไว้เสียก่อน
ถ้าพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงยินยอมเขาจะไม่ได้รับอนุญาตให้ขายผ้าได้
ในตัวเมืองกรุงศรีอยุธยามีตลาดถึง60 แห่ง ขายของสดเช้าเย็น ตลาดขายของชำ และยังมีย่านขายสินค้าแต่ละประเภท เช่น ย่านป่าผ้าเหลืองมีร้านขายผ้าไตร จีวรและอาจขายพวกเครื่องสังฆทาน และเครื่องอัฐบริขารอื่นๆ ย่านป่าชุมภู มีร้านขายผ้า ชมพู ผ้าชมพูเลว ผ้าตีพิมพ์ ย่านป่าไหมมีร้านขายเส้นไหม ครุยไหม ย่านป่าเหล็กขายมีด พร้า จอบ เสียม ตะปู ย่านป่าฟูก มีร้านขาย ฟูก เมาะ หมอน ตลาดขายของสดเช้าเย็น ชื่อตลาดสะพานหน้าคู ย่านป่าผ้าเขียว ขายเสื้อสีเขียว สีขาว สีแดงชมพู และยังมีเสื้อญี่ปุ่นเสื้อจีบเอว เสื้อฉีกอก เสื้อสวมหัว กางเกงสีเขียว และสีขาว นอกจากนี้ยังขายล่วมสักหลาด ถุงหมาก ถุงยาสูบ ซองพลู และยังรับผ้าแขกจามวัดแก้วฟ้ามาขายด้วย สำหรับตลาดขายของสดเช้าเย็น ชื่อตลาดสะพานหน้าคู และตลาดหน้าคุก ส่วนที่ตลาดป่าตะกั่ว มีร้านชำขายลูกแห และเครื่องตะกั่ว และยังขายฝ้าย ด้ายขาวและด้ายแดงด้วย ที่ย่านน่าพระกาลมีร้านชำขายอุปกรณ์ทอผ้า เช่น หัวไน โครงไนสำหรับปั้นฝ้าย ที่ย่านท่าทรายมีร้านขายผ้าสมปักเชิงปูม ผ้าไหม ผ้าลาย กุศราช ยำมะวาด สมปักเชิง สมปักกล่องจวน สมปักริ้ว ผ้าต่างประเทศที่วางขายในตลาด ส่วนมากเป็นผ้าพื้นจากอินเดีย ผ้าแพรจากจีน และผ้าไหมหรือผ้าปูมจากเขมร...อ่านต่อตอนที่ 6