การเลือกสีผ้านุ่งห่มของชาวปักษ์ใต้ สมัยก่อนก็พิถีพิถันเสื้อกับผ้านุ่งต้องเข้ากัน ไม่นิยมสีตัดกันแต่ใช้สีเดียวกันโดยผ้านุ่มสีจะแก่ส่วนเสื้อสีอ่อน ถ้าผู้หญิงสาวจะใช้สีแดง ชมพู เหลือง ฟ้าและสีหมากสุก ถ้าเป็นคนมีอายุใช้สีเขียว น้ำเงิน น้ำตาล ดำ นอกจากนี้ยังนิยมนุ่งห่มสีตามวันด้วย ถือว่าเป็นสิริมงคลกับตัว เช่น วันอาทิตย์ใส่สีแดง วันจันทร์สีเหลือง วันอังคารสีชมพู วันพุธสีเขียววันพฤหัสบดีสีน้ำตาลหรือแสด วันศุกร์สีฟ้าวันเสาร์สีม่วงหรือน้ำเงินฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ชาวไทยพุทธยังมีภาพที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่นๆ เช่น ผ้าเช็ดปาก (ผ้ากราบพระ) ผ้าซักอาบ ผ้าห่อ และผ้าที่ใช้ และผ้าที่ใช้ในพิธีกรรม เช่น ผ้าพานช้าง ผ้าพระบฎ ผ้าไหว้ ผ้าตั้ง เป็นต้น
ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปาก หรือกราบพระ ในบางถิ่น เรียกผ้านุ้ย หรือลูกผ้าทอด้วยฝ้าย ไหม หรือฝ้ายปนไหม เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 40-50 เซนติเมตร ทอเป็นผ้าพื้น ผ้าลายตาราง หรือผ้าทอยกดอก เช่น ผ้าเช็ดปากนาหมื่นศรีจะนิยมทอลายลูกแก้ว ลายแก้วชิงดวง ลายดอกจัน ลายดาวล้อมเดือน ลายเม็ดแตง ลายดอกกก ลายช่อลอกอ ลายช่อมาลัย ถ้าใช้เป็นผ้าเช็ดปากนิยมทอเป็นผ้าพื้น หรือผ้าตาสีแดง ถ้าเป็นปูกราบพระจะนิยมทอเป็นลายยกดอกดังกล่าว นอกนี้ยังใช้เป็นผ้ากราบขอขมาห่อขันหมาก หรือเหน็บสะเอวกันซึ่งเป็นที่นิยมทั้งหญิงและชาย
ผ้าพาดเฉียง หรือผ้าบ่งเฉียง เป็นผ้าสไบที่ใช้รัดดอกโดยชายผ้าส่วนที่เหลือเอาไว้บนบ่า ยาวประมาณ 4 ศอก คืบ กว้างประมาณ 6-8 นิ้ว ผู้หญิงสูงอายุส่วนมากนิยมใช้ห่มทับเสื้อชั้นนอก ถือว่าเป็นการแต่งกายที่สุภาพวิธีใช้หลังจากสวมเสื้อชั้นนอกแล้วก็ใช้ส่วนกลางของผ้าพาดเฉียงโอบรอบหลัง ปลายข้างหนึ่งสอดใต้รักแร้ออกมาปิดไว้ที่หน้าอกให้ใช้ผ้าข้างนั้นเลยไปเกือบถึงใต้รักแร้อีกข้างหนึ่งแล้วตวัด ชายผ้าด้านตรงข้ามซึ่งอยู่ใต้รักแร้อยู่แล้วให้ทับลายของด้านที่ติดอยู่ก่อนตวัตชายผ้านั้นขึ้นพาดเฉียงบนบ่าตรงกันข้ามให้ใช้ผ้าส่วนที่เหลือพาดลงไปบนหลัง
สำหรับผ้าพาดเฉียงหรือผ้าห่มของชาวบ้านนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง ในอดีตนิยมสีพื้นแดงยกสีเหลือง ขาว เขียว ตอง ดำ น้ำเงิน ยกลายดอกจัน ดาวล้อมเดือน แก้วชิงดวง เม็ดแตง ช่อมาลัยช่อลอกอ (ช่อมะละกอ) ลายประสมลูก คน สัตว์และตัวหนังสือ ผ้าพาดเฉียงใช้ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ต้อนรับแขกผู้ใหญ่หรือไปงานพิธี บวชนาค แต่งงาน เป็นต้น
ผ้าซักอาบหรือผ้าขาวม้า ชาวภาคใต้เรียกผ้ามีหลายชื่อ เช่น ผ้าซับน้ำ ผ้าชุบ ผ้าเช็ดตัว ผ้าผลัด ผ้าผลัดอาบน้ำ ผ้าปล่อย เป็นผ้าสำหรับผู้ชายใช้ประโยชน์หลักในการอาบน้ำโชว์ด้วยฝ้ายและไหมแต่ส่วนมากจะมีเป็นผ้าฝ้ายลายตาราง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดชายแดนภาคใต้นิยมทำลาย จวนคั่นระหว่างผ้าทั้งสองกับตัวผ้า และทอด้วยไหมหรือฝ้ายหลายสีสลับกันเป็นลายตา ชาวภาคใต้ยังใช้ประโยชน์จากผ้าซักอาบหลายอย่าง ได้แก่ คาดสะเอว โพกศรีษะกันแดด ใช้ทำเปลเด็ก ใช้รองศีรษะ บ่า และมือในการทูน แบก หาม หาบ ใช้ปูนั่ง ปูนอน ใช้เป็นผ้าซับเหงื่อ ผ้าเช็ดตัว และใช้ผูกเป็นถุงใส่ของ เป็นต้น
ผ้าห่มเสื้อผ้าที่ใช้สำหรับถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ไม่ได้ใช้ประจำวันเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสอันควรหรือใช้ถอดเสื้อผ้าเมื่อเดินทางนิยมใช้กันมากในสมัยที่ยังไม่ค่อยมีตู้จัดเก็บเสื้อผ้าและกระเป๋าเดินทางผ้าหอบทำด้วยผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความกว้างประมาณ 1-1.50 เมตร พับริมและเย็บเป็นข้อโดยรอบในหนังสือชีวิวัฒน์กล่าวถึงผ้าหอมซึ่งเป็นสินค้าในตลาดเมืองสงขลาเมื่อปีพุทธศักราช 2427 ว่า “ ผ้าโพก ผ้าห่อด้าย กุลีหนึ่งราคา 5-6 เหรียญ ในขณะที่ข้าวเปลือกราคาเกวียนละ 15-16 เหรียญ”
ชาวภาคใต้ไม่นิยมเก็บผ้าห่อปะปนกันผู้ใหญ่แต่ละคนจะมีผ้าห่อของตนเองเมื่อเดินทางไกลจะนำผ้าห่อมาห่อเสื้อผ้า โดยสะพายบ่าหรือกระเดียดไป เรียกว่า “ห่อพาย” หรือ “ห่อแคร่” มีสำนวน “ยกห่อพาย” หรือ “ยกห่อแคร่” หมายความว่าย้ายออกจากบ้านเดิมไปหาที่อยู่ใหม่เพราะมีปัญหาในการอยู่ร่วมกันหรือหนีออกจากบ้านไปอยู่กับผู้อื่น เช่น เมียยกห่อพายหนีไปอยู่บ้านพ่อตา หรือหญิงยกห่อพายหนีตามผัว นอกจากนี้บรรดานักเลงชายชาตรีหรือนักท่องเที่ยวที่นิยมเล่นเครื่องรางของขลังจะนิยมใช้ผ้าตราสังข์ศพของญาติ หรือบุคคลที่เคารพมาทำผ้าห่อพายเพราะเชื่อว่าจะเป็นศิริมงคลแก่ตัวและผู้ชายส่วนมากเชื่อว่าถ้าเด็กหรือสตรีข้ามของผ้าของตนจะเป็นอัปมงคล
ผ้าพานช้าง เป็นผ้าใช้สำหรับพาดโลงศพของชาวบ้าน นาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรังเพื่อสื่อให้ผู้ตายได้รับบุญกุศลที่ญาติพี่น้องทำส่งไปให้โดยทอเป็นผ้าเช็ดหน้าหรือผ้ากราบพระ ติดต่อกันเป็นผ้าผืนยาวจำนวน 12 ผืน หรือน้อยกว่านั้นแต่เป็นจำนวนคู่มีลวดลายยกดอกเหมือนกับผ้าเช็ดหน้าแต่ช่างบางคนทอผ้าพานช้างเป็นลายยกดอกอื่นๆ สลับกับลายตัวอักษรสั่งสอนให้ทำความดี ถือศีล 5 จะได้ขึ้นสวรรค์ไปชมนางฟ้าห้าร้อย ผ้าพานช้างนี้ เมื่อเสร็จงานศพแล้วเจ้าภาพจะตัดแบ่งเป็นผื่นถวายพระหรือแจกให้หนูลูกหลานเก็บไว้เป็นที่ระลึกการทอผ้าพันช้างนั้นไม่ได้ทอทั่วไป ผู้ทอมีเจตนาเก็บไว้ใช้สำหรับงานศพตนเองหรือ ทอให้แก่ผู้ที่ตนรักเคารพเท่านั้น
ผ้าพระบฎ เป็นภาพจิตรกรรมบนผืนผ้าโดยเขียนภาพพระพุทธเจ้าไว้บูชาแทนรูปประติมากรรมภาพพระบฏโบราณจะเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนบนดอกบัวมีอัครสาวกยืนพนมมือสองข้าง พระบฎรุ่นหลังเขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติหรือเรื่องชาดกแบบเดียวกับจิตรกรรมฝาผนัง นอกจากนี้ยังมีพระบฎ เป็นภาพรอยพระบาทซ้ายและขวาของพระพุทธเจ้า เช่นพระบฎของวัดหัวเตย ตำบลโคกทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ในภาพรอยพระบาทยังมีภาพเมขลาล่อแก้ว รามสูรขว้างขวาน ในภาพรอยพระบาทยังมีลายก้นหอย ลายกงจักร รอบกงมีรูปมงคล 108 ประการ และมีเรื่องพระมาลัยโปรดสัตว์นรก
ผ้าพระบฎ เป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีไม้สอดหัวท้ายสำหรับแขวนผนังตาม ทางยาวเชื่อกันว่าผ้าที่นำมาทำพระบฎ เป็นผ้าของคนตายหรือผ้าขาวสำหรับกลุ่มหีบศพ การนำผ้าดังกล่าวมาวาดเพราะเชื่อว่าผู้ตายจะได้กุศลจากภาพที่วาดถวายวัดภาพพระบฏนี้ใช้สำหรับแขวนไว้ตาม อุโบสถวิหาร หรือ ศาลาการเปรียญ เมื่อมีงานประเพณีหรือวันสำคัญทางศาสนา
ผ้าไหว้ เป็นผ้าขาวพับที่เจ้าบ่าวนำไปทำพิธีที่บ้านเจ้าสาวในวันแต่งงานโดยจัดร่วมไปกับขบวนขันหมากผ้าขาวนี้ยาวไม่น้อยกว่า 3 หลา พับใส่พานเรียกว่า “ผ้าไหว้” เนื่องจากชาวภาคใต้เชื่อกันมาแต่โบราณว่าบุญเรือนนั้นมี “ผีเรือน” ซึ่งเป็นวิญญาณของปู่ย่าตายายเฝ้าดูแลลูกหลานอยู่ 3 วันเท่ากับ การวางหมากพลูเครื่องขันหมากแต่ต่อมาเจ้าบ่าวไหว้พ่อแม่เจ้าสาว แล้วมอบพานผ้าไหว้ให้แล้วเอาพานกลับคืนไป พ่อแม่เจ้าสาวก็ไม่ได้นำเข้าไหว้ไปวางไว้บนหิ้งตามที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม นอกจากนั้นในบางท้องถิ่นได้จัดเตรียมผ้าไว้เป็น 2 ชิ้นสำหรับพ่อแม่เจ้าสาวคนละชิ้นใส่มาในพานเดียวกันหรือแยกทางก็มีบางแห่งก็จัดเป็นผ้าสีต่างๆโดยไม่คำนึงว่าต้องเป็นผ้าสีขาวแต่ทุกแห่งได้จัดนำเข้าๆมาด้วยกันทั้งสิ้นซึ่งเป็นการอนุรักษ์ประเพณีเก่าไว้แม้ความหมายจะต่างไปจากเดิม
ผ้าตั้ง ซื้อผ้านุ่งผ้าห่มที่ทอขึ้นเพื่อใช้ในพิธีแต่งงานเป็นภาพที่เจ้าสาวพอเตรียมไว้สำหรับเจ้าบ่าวให้เหมาะสมกับเงินสินสอดเช่นเมื่อฝ่ายชายไปเจรจาของหมั้นฝ่ายหญิงจะตกหรือเรียกสินสอดเป็นเงินซึ่งในสมัยก่อนจะตบกันเป็นเงิน 9 บาท 19 บาท 29 บาทเจ้าสาวเฉพาะผ้าให้จับเจ้าบ่าวตามสินสอดที่เรียก เช่น เรียก 9 บาท ผ้า 1 สำรับ เรียก 19 บาท ผ้า 2 สำรับ เรียก 29 บาท ผ้า 3 สำรับ ใน 1 สำรับ ประกอบด้วย ผ้านุ่ง 1 ผืน และผ้าห่ม 1 ผืน เมื่อเจ้าบ่าวยกขันหมากมาถึงบ้านเจ้าสาวก็จะเปลี่ยนผ้า สำรับใหม่ที่เจ้าสาวเตรียมไว้ให้