เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลา: 08:30 - 17:30 น. น.

วัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้ ผ้าในวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ ตอนที่ 1

  • หน้าแรก
  • วัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้ ผ้าในวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ ตอนที่ 1
7 ต.ค.
Awesome Image

วัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้ ผ้าในวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ ตอนที่ 1

ชาวไทยพุทธภาคใต้ใช้ผ้านุ่งผ้าห่มแต่งกายแบบเดียวกับชาวไทยในภาคกลางมาตั้งแต่โบราณจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ คือชายและหญิงจะนุ่งผ้าแบบโจงกระเบน ถ้าเป็นชนชั้นสูงเช่นพวกเจ้าเมือง ข้าราชการและพ่อค้าคหบดี ก็จะใช้ผ้าทอยกดอก ผ้าไหมพื้น ผ้าไหมยกดอก ผ้าไหมหางกระรอก ผ้าปูม ผ้าสมปัก ผ้าม่วง ตามบรรดาศักดิ์และฐานะของตน สำหรับผ้ายกทองนุ่งได้เฉพาะเจ้านายและขุนนาง ที่มีบรรดาศักดิ์สูงเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการใช้ผ้าที่ซื้อจากต่างประเทศ เช่น จีนและอินเดีย ได้แก่ ผ้าลายอย่าง ผ้าลายนอกอย่าง ผ้าเเพร เป็นต้น สำหรับผ้าแพรนี้มีสีและชนิดต่างๆทั้งมีลายในตัว เช่น ลายดอกพุดตานและที่นำมาปักลายด้วยไหมส่วนมากจะเป็นลายดอกไม้ผ้าแพรจีนมีนิยมใช้เป็นผ้าห่มหรือสบายทั้งของผู้ชายและผู้หญิง สำหรับผ้าลายผ้าพิมพ์ลายนั้นมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาใช้ได้ทั้งขุนนางและทั่วไปต่างกันที่ความสวยงามของลวดลายและเนื้อผ้าส่วนผ้าลายที่เขียนลายด้วยสีทอง เรียกว่าผ้าเขียนลายทอง นั้นใช้ได้เฉพาะ พระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี เจ้าฟ้า และพระองค์เจ้าเท่านั้น ชายสวมเสื้อสีขาวแขนยาวคอกลมผ่าหน้าติดกระดุมแต่บางครั้งก็ไม่สวมเสื้อส่วนหญิงที่เป็นชนชั้นสูงจะห่มผ้าพาดเฉียงหรือสไบ หรือสวมเสื้อห่มสไบทับเมื่อออกข้างนอกหรือไปทำบุญที่วัด ถ้าอยู่กับบ้านก็จะใช้ผ้าแถบห่มรัดอก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)  ทรงวางระเบียบให้ข้าราชการสวมเสื้อชั้นใน เสื้อนอก มีผ้าผูกคอ นุ่งโจงกระเบนเป็นผ้าม่วงสีน้ำเงินแก๋ใช้แทนผ้าสมปัก ทรงโปรดให้สวมรองเท้า ถุงเท้า สวมหมวก เป็นต้น เมื่อเสด็จประพาสอินเดีย ในปีพุทธศักราช 2415 ทรงคิดดัดแปลงเสื้อราชประแตนจากเสื้อของฝรั่งมีการเปลี่ยนแปลงแบบเสื้อตามแบบยุโรปมากขึ้น สวนเจ้านายสตรีฝ่ายในและสตรีในเมืองหลวงนิยมใส่เสื้อแขนยาว ชายเสื้อเพียงบั้นเอวแล้วห่มเเพรสไปเฉียงบ่านอกเสื้อสวมรองเท้าบูทกับถุงเท้าหุ้ม ตลอดน่อง เปลี่ยนทรงผมจากผมปีกเป็นทรงผมทรงดอกกระทุ่ม นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงตัวเสื้อเป็นประดับลูกไม้ เปลี่ยนจากสไบเฉียงเป็นสะพายแพร่ทับตัวเสื้อ นุ่งโจงกระเบน

ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)  ผ้าที่นำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายผมเจ้านายและสามัญชนยังคงใช้สืบมาตามประเพณีเดิมแต่ในรัชสมัยนี้มีเจ้านายและบุตรหลานขุนนางที่ไป เรียนในทวีปยุโรปกลับมาเป็นจำนวนมากส่วนหญิงยังนุ่งโจงกระเบนหรือผ้าจีบหน้านางห่มสไบแต่ใส่เสื้อผ้าลูกไม้แขนยาวทรงกระบอกหรือทรงขาหมูแฮม และใช้สไบพาดทับเสื้ออีกทีนึง ผู้ชายนิยมนุ่งกางเกงและสวมเสื้ออย่างตะวันตกซึ่งนิยมมากขึ้นในรัชสมัยนี้ สำหรับการใช้ผ้ามีทั้งผ้ายกดิ้น ผ้ายกไหม ผ้าลาย ผ้าลูกไม้และผ้าต่างๆ จากตะวันตกซึ่งมีเพิ่มขึ้นเพื่อให้เหมาะกับแบบเสื้อผ้า 

การแต่งกายสมัยนี้เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมบ้างคือการแต่งกายของผู้ชายสำหรับข้าราชการสวมเสื้อราชประแตน นุ่งผ้าม่วง สวมรองเท้า แต่ทหารหรือพลเรือนในกรณีพิเศษส่วนกลางเกรงก็มีประชาชนทั่วไปนิยมนุ่งกางเกงแพร หรือนุ่งผ้าม่วงหรือผ้าพื้น สวมรองเท้าบ้างไม่สวมบ้างผมยาวสุภาพ ส่วนผู้หญิงโดยปกตินุ่งผ้าโจงกระเบนเมื่ออยู่บ้านไม่ได้ออกงานยางคาดผ้าแถบ สวมเสื้อแต่ไสบนั้นนิยมน้อย ไว้ผมทรงดอกกระทุ่มต่อมาเกิดมีพระราชนิยมให้สตรี ไว้ผมยาวเกล้ามวย  นุ่งผ้าซิ่นแทนโจงกระเบนและฟันขาว เนื่องจากลดความนิยมการกินหมากลง ส่วนการไว้ผมยาวของสตรีในสมัยรัชกาลที่๖ดีหมายถึงทรงผมดัดของสตรีชาวตะวันตกที่เกล้าผมหรือดัดลอนไว้ผมบ๊อบซึ่งเป็นทรงผมที่มาจากเมืองนอกและมีทรงผมอีก 2 แบบคือผมทรง single กับผมทรง อีตันคร๊อพ สำหรับผมทรง single เป็นการซอยผมด้านหลังให้ลาดเอียงลงไป

ส่วนสตรีในราชสำนักสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้ “นุ่งซิ่น ฟันขาว เกล้ามวย” แทนการนุ่งโจงกระเบน ทำให้สตรีชนชั้นสูงหันมานุ่งซิ่นสวมเสื้อแขนสั้นหรือแขนยาวเป็นเสื้อหลวมๆ สีขาวหรือร้ายดอกไม้นิยมนำสายสร้อยหรือผ้าม่านผ้าประดับรอบศรีษะและสวม สร้อยไข่มุกรอบคอหลายเส้นการแต่งกายแบบนี้นิยมในหมู่สตรีชาวเมืองส่วนสตรีชนบทยังนุ่งโจงกระเบนห่มผ้าแถบหรือสวมเสื้อแบบเดิม ส่วนผู้ชายเริ่มนุ่งกางเกงขายาวและส่งเสื้ออย่างชาวตะวันตกและจะนิยมมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7

 การแต่งกายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 7)  (พุทธศักราช 2468- 2477)  โดยทั่วไปไม่เปลี่ยนไปจากสมัยรัชกาลที่ 6 มากนักแม้ว่าขุนนางและข้าราชการเก่าๆจะยังนุ่งโจงกระเบนอยู่แต่ก็น้อยมากต่อมาใน (พุทธศักราช 2475 ) ทางคณะราษฎร์ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วงโดยให้นุ่งกางเกงขายาวแบบฝรั่งแต่ไม่ได้บังคับยังคงผ่อนผันให้นุ่งผ้าม่วงได้จนถึงพุทธศักราช 2478 จึงได้ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วงโดยเด็ดขาดสำหรับการแต่งกายของสตรีมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์คือสตรีนิยมสวมเสื้อไม่มีแขนตัวเสื้อเหลืองยาวลงมานิยมไว้ผมสั้นดัดลอนเล็กน้อยนิยมดัดผมมากขึ้นและนิยมใช้ผ้าจากตะวันตก


Tags: ศิลปวัฒนธรรมผ้าทอ