เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลา: 08:30 - 17:30 น. น.

ประวัติครูผ้านาหมื่นศรี

ฝ้าย สุขคง

ประวัติ

ยายฝ้ายเกิดที่บ้านไสเดือย เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๗ และจากไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ ยาย ฝ้ายเล่าว่าพอเริ่มรุ่นสาวก็หัดทอผ้าตามแม่สอน แต่งงานแล้วก็ทอผ้าใช้ในครอบครัวเช่นเดียวกับ บ้านอื่น แต่ยายต่างจากคนอื่นตรงที่ชอบคิด ลายใหม่ๆ ขึ้นมาเอง ฝ้ายของยายจึงไม่เหมือน ใคร เช่น ลายครุฑ ยายบอกว่าดูหน้าศาลา กลาง ลายอื่นๆ เช่น ลายหงส์ ลายนกเหวก (นกการเวก หรือการวิก) ยายทําขึ้นมาจากที่ เคยเห็นภาพ ลายนางฟ้า ลายตุ๊กตาหรือรูปคน อื่นก็นึกเอา นอกจากการคิดลายเองแล้วยายยัง เก็บลายให้คนอื่นทอผ้าด้วย ฝ้าของยายฝ้ายมี คนซื้อถึงบ้านและสั่งทอสําหรับใช้งานพิเศษ ต่างๆ เช่น ผ้าพานช้างลายตัวหนังสือสําหรับ งานศพเจ้าอาวาสวัดนิกรรังสฤษฎ์ อําเภอย่าน ตาขาว ลายตัวหนังสือที่เกิดขึ้นในนาหมื่นศรีก็ เริ่มต้นจากยาย ถ้อยคำในผืนผ้าของยายจึงสื่อ ความคิดความเชื่อในพระพุทธศาสนา ทั้งเรียง ถ้อยคำสัมผัสสละสลวย สะท้อนจิตวิญญาณทั้ง เชิงช่างและนักร้อยกรอง บัณฑิตคิดคำไปพร้อม กับลายผ้าสมดังที่ยายพูดว่านี่คืองาน “บัณฑิต ลาย” ยายฝ้ายจำต้องหยุดงานที่รักเพราะมิอาจ ฝืนสังขารในวัยปลาย แม้หมดแรงทอแต่ยังมี แรงถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานในบ้านจนในที่สุด ยายก็จากไปโดยทิ้งมรดกลายผ้าไว้ให้ลูกหลาน นาหมื่นศรีได้สืบทอด และมีหลานที่สืบทอดการ ทอผ้าด้วยกี่โบราณชื่อ บุญชีพ ยิ้มสง กับ สไบ สุขคง